Support
4life Immunity
0816516654
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

รู้จักกันหรือยัง "กลูตาไธโอน" อ่ะดิ

วันที่: 2010-09-18 22:22:04.0view 37033reply 1

GLUTATHIONE

It’s role in cancer & anticancer therapy

บทบาทสำคัญของกลูตาไธโอนในโรคมะเร็ง และการบำบัดมะเร็ง

Dr. Jimmy Gutman MD,FACEP


“ทำไม ร่างกายของเราจำเป็นต้องมีกลูตาไธโอนอย่างเพียงพอ สารสำคัญนี้สามารถช่วยป้องกันและต่อต้านมะเร็ง พร้อมทั้งลดผลข้างเคียงจากการใช้เคมีบำบัด และรังสีบำบัดได้อย่างไร”


กลูตาไธโอน คืออะไร

          กลูตา ไธโอน (Glutathione) เป็นชีวโมเลกุลขนาดเล็กที่ร่างกายสร้างขึ้นเองตามธรรมชาติ และเป็นโปรตีนที่มีบทบาทสำคัญต่อการทำงานต่างๆ ของร่างกาย เช่น การทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) การกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน (Immune booster) และการกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย (Detoxifier) ด้วยเหตุนี้ กลูตาไธโอนจึงมีความสำคัญยิ่งยวดต่อการดำเนินชีวิต หากร่างกายขาดสารกลูตาไธโอนเซลของเราจะแตกสลายจากการทำงานของอนุมูลอิสระ จำนวนมหาศาล ร่างกายจะสูญเสียภูมิต้านทานต่อเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และมะเร็ง ตับจะวายจากการสะสมของสารพิษนานาชนิดในเวลาอันรวดเร็ว
- กลูตาไธโอน คือชื่อของผู้พิทักษ์เซลที่อาจยังไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย แม้แต่แพทย์ส่วนใหญ่ที่เคยได้ยินเกี่ยวกับกลูตาไธโอนมาแล้วบ้าง แต่ก็มีน้อยคนที่เข้าใจและตระหนักถึงบทบาทสำคัญของสารตัวนี้ กลูตาไธโอนกำลังจะกลายมาเป็นกลยุทธ์สำคัญในการดูแลสุขภาพ เช่นเดียวกันกับการรับประทานวิตามินและการควบคุมระดับคลอเรสเตอรอล และ ณ บัดนี้ก็ได้มาถึงคราวของกลูตาไธโอน ดังจะเห็นได้จากงานวิจัยทางการแพทย์ที่ถูกตีพิมพ์เกี่ยวกับสารนี้ภายใน 5 ปีที่ผ่านมา ที่มีมากถึง 25,000 ฉบับ และผลการค้นคว้าเหล่านี้กำลังช่วยส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับกลูตาไธโอนให้ เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ
- เซลในร่างกายของเราทุกๆเซลมีหน้าที่สร้างกลูตาไธโอนขึ้นเองตามความต้องการ และจำเป็นต้องมีสารตั้งต้นในการสร้างที่พอเพียง ในแต่ละวันร่างกายมีความต้องการใช้กลูตาไธโอนเป็นจำนวนมากและอัตราการใช้จะ ยิ่งเพิ่มมากขึ้น เมื่อร่างกายประสบกับสภาวะที่ท้าทายต่อสุขภาพต่างๆ เช่น การเจ็บป่วย ความเครียด ความเหนื่อยล้า หรือแม้กระทั่งการออกกำลังกาย ปัจจัยต่างๆ ที่สามารถนำไปสู่ภาวะบกพร่องของกลูตาไธโอนในร่างกาย นอกจากนี้ระดับกลูตาไธโอนจะลดลงตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น และการเกิดโรคต่างๆ ในร่างกายที่มักเกิดขึ้นในวัยสูงอายุ มักพบว่ามีความเกี่ยวเนื่องกับการขาดกลูตาไธโอนทั้งสิ้น

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการลดระดับของกลูตาไธโอนภายในเซล
1. มละภาวะแวดล้อม
2. ยาและสารเคมี
3. รังสีและคลื่นความร้อน
4. การบาดเจ็บ แผลไหม้
5. การติดเชื้อ
6. ความเครียด
7. ความชรา
8. ทุพโภชนาการ
    ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ ล้วนก่อให้เกิดการสูญเสียกลูตาไธโอนภายในเซล ส่งผลให้เกิดการเสื่อมถอยของเซล การเกิดโรค และการเสียชีวิต

“การ มีระดับกลูตาไธโอนต่ำ จะนำไปสู่ความเสื่อมของร่างกายก่อนวัย การเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ และความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต การเพิ่มระดับกลูตาไธโอนให้ร่างกายจะช่วยหยุดยั้งวงจรนี้ได้”

Adapted from Kidd&Huber, “Natural Antioxidants - First Line of Defense”, 1991


เพราะเหตุใดกลูตาไธโอนจึงมีความสำคัญต่อสุขภาพ
    บทบาทที่สำคัญ 3 ประการภายในร่างกายของคนเราของกลูตาไธโอน สามารถสรุปได้ตามตัวอักษรภาษาอังกฤษสามตัว คือ A-I-D ซึ่งเป็นอักษรย่ิของกระบวนการทางชีวภาพต่างๆ ที่ถูกขับเคลื่อนโดยกลูตาไธโอน ได้แก่ Antioxidant (สารต้านอนุมูลอิสระ) Immune booster (การกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน) และ Detixifier (การขับสารพิษออกจากร่างกาย)

ยอดแห่งสารต่อต้านอนุมูลอิสระ (The Master Antioxidant)
    กว่า 30 ปีที่ผ่านมา นักวิจัยทั่วโลกได้ทำการศึกษาคุณประโยชน์ต่างๆ ของสารต้านอนุมูลอิสระที่ส่งผลต่อสุขภาพของคนเรา ซึ่งรวมถึงบทบาทในการรักษาและป้องกันการเกิดโรคที่มีสาเหตุมาจากการทำลาย โดยอนุมูลอิสระ (Oxidative stress) ด้วยเหตุนี้เอง ชีววิทยาด้านอนุมูลอิสระ (Free radical biology) ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์การแพทย์แขนงใหม่จึงได้เกิดขึ้น และมีการพบว่า อนุมูลอิสระเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การเกิดโรคต่างๆ มากมาย ตั้งแต่ โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และความชรา
    วิตามินC, วิตามินE และเซเลเนียม เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่คนส่วนใหญ่รู้จักดี และใช้กันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากสารเหล่านี้พบอยู่ในธรรมชาติ มิได้เกิดขึ้นเองภายในเซล คนเราจึงต้องอาศัยการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการเพื่อรับวิตามิน และเกลือแร่เหล่านี้เข้าสู่ร่างกายอย่างเพียงพอ เนื่องจากสารต้านอนุมูลอิสระเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อสุขภาพ จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจว่า ร่างกายของเราสามารถผลิตสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดได้เอง และหนึ่งในบรรดาสารต้านอนุมูลอิสระที่มีความสำคัญที่สุดของร่างกายก็คือ กลูตาไธโอน เพราะการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพของสารต้านอนุมูลอิสระชนิดอื่นๆ ล้วนต้องขึ้นอยู่กับระดับกลูตาไธโอนภายในเซล นัำกวิทยาศาสตร์จึงขนานนาม กลูตาไธโอนว่าเป็น “ยอดแห่งสารต่อต้านอนุมูลอิสระ”

อาหารของระบบภูมิคุ้มกัน (Food for the Immune System)
    หน้าที่หลักของระบบภูมิคุ้มกันคือ รับรู้และบ่งบอกชนิดของเชื้อโรคที่บุกรุกเข้ามาในร่างกาย และทำลายเชื้อโรค รวมทั้งสารแปลกปลอมอื่น ตลอดจนเซลมะเร็ง ร่างกายที่มีปริมาณกลูตาไธโอนเพียงพอ จะสามารถควบคุมปริมาณและการแพร่กระจายของเชื้อโรค และกำจัดเชื้อโรคได้อย่างรวดเร็ว การมีกลูตาไธโอนในระดับสูงจะส่งผลให้ร่างกายสามารถผลิตเม็ดเลือดขาวได้มาก ตามความจำเป็น โดยเม็ดเลือดขาวนี้เองคือด่านแรกของระบบภูมิคุ้มกันที่ร่างกายใช้ในการปก ป้องจากภัยคุกคามจากภายนอก
    กลูตาไธโอนมีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งกับระบบภูมิคุ้มกัน Dr. Gustavo Bounous ผู้เชี่ยวชาญด้านกลูตาไธโอน ได้กล่าวว่า “ระดับของกลูตาไธโอน คือ ปัจจัยที่กำหนดประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาว ชนิดลิมโฟไซด์ (Lymphocytes)” กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การแบ่งตัวเพื่อระดมกำลังพลและการทำงานของเซลเม็ดเลือดขาว ขึ้นอยู่กับระดับของกลูตาไธโอนที่มีอยู่ในร่างกาย หรืออาจสรุปได้ว่า กลูตาไธโอนเปรียบเสมือนอาหารของระบบภูมิคุ้มกัน นั้นเอง

การขจัดพิษออกตามธรรมชาติ (Natural Detoxifier)
    ทุกๆวัน เราทุกคนล้วนสูดหายใจและบริโภคสารพิษนานาชนิดทั้งที่เป็นสารธรรมชาติ และสารสังเคราะห์ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนในสังคมยุคปัจจุบันไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เนื่องจากต้องอยู่ท่ามกลางมลพิษในเมืองและบริโภคอาหารที่เป็นผลผลิต จากกระบวนการอุตสาหกรรม หากร่างกายของเรามีสุขภาพมีสุขภาพดีและได้รับสารอาหารที่มีคุณค่าทาง โภชนาการอย่างเพียงพอ ร่างกายจะสามารถทำงานเพื่อกำจัดสารพิษออกไปอย่างไม่หยุดหย่อน แต่ระดับมลพิษที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในสิ่งแวดล้อมจะส่งผลให้ปริมาณกลูตาไธโอนลดลงอย่างรวดเร็ว อวัยวะหลักในการกำจัดพิษของร่างกายคือ ตับ ซึ่งเป็นอวัยวะที่มีกลูตาไธโอนในระดับสูง จากการศึกษาพบว่าการมีระดับกลูตาไธโอนต่ำในตับส่งผลให้การทำงานของตับลดลง และนำไปสู่การมีระดับสารพิษที่ไหลเวียนในร่างกายเพิ่มขึ้นจนก่อให้เกิดความ เสียหายต่อเซลและความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ  คุณสมบัติของกลูตาไธโอนในการกำจัดพิษนี้เป็นเหตุให้แพทย์เลือกใช้ยาที่มี คุณสมบัติในการเพิ่มระดับกลูตาไธโอน เพื่อช่วยในการขจัดสารพิษในผู้ป่วยที่รับประทานยาแก้ปวดบางชนิด เช่น ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) เกินขนาด

กลูตาไธโอน กับการแพทย์ธรรมชาติบำบัด
    ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสตร์การแพทย์บูรณาการ (Complementary medicine) ได้สนับสนุนการใช้ milk thistle ในการรักษาโรคตับมาเป็นเวลานาน ซึ่งต่อมาได้มีการพบว่า พืชชนิดนี้มีคุณสมบัติในการเพิ่มกลูตาไธโอนให้ร่างกายได้ในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ยังพบว่า แร่ธาตุเซเลเนียม เป็นสารอีกชนิดที่สามารถกระตุ้นการทำงานและเพิ่มระดับกลูตาไธโอนได้เช่นกัน โดยการเข้าไปรวมตัวกับเอมไซม์ Glutathione peroxidase

กลูตาไธโอน กับการแพทย์แผนปัจจุบัน
    แพทย์แผนกฉุกเฉิน นักพิษวิทยา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านปอดและตับ มักคุ้นเคยกับการใช้กลูตาไธโอนในการรักษา แพทย์ชาวอเมริกันที่ต้องการเพิ่มระดับกลูตาไธโอนให้คนไข้ สามารถค้นหาข้อมูลจากหนังสืออ้างอิงยาของแพทย์ (Physician’s Desk Reference:PDR) ซึ่งชี้แจงวิธีที่สามารถเพิ่มระดับกลูตาไธโอนไว้ 2 มาตราการ ได้แก่ ยา NAC (n-acetyl cysteine) ซึ่งมีจำหน่ายภายใต้ชื่อยี่ห้อ Mucosil และ Mucomyst หรือผลิตภัณฑ์ Immunocal (HMS 90) ซึ่งเป็นเวย์โปรตีนสกัดด้วยกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับการจดทะเบียนสิทธิบัตร

ยาที่มีคุณสมบัติในการเพิ่มระดับกลูตาไธโอน
    สารตัวยาเภสัชภัณฑ์ตามตารางทั้งหมดมีคุณสมบัติในการเพิ่มระดับกลูตาไธโอนให้ ร่างกายได้ อย่างไรก็ตามการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้เช่นกัน จึงไม่เหมาะสมกับการใช้ในระยะยาว ยาในกลุ่ม NAC (n-acetyl-cysteine) เป็นสารตั้งต้นในการสร้างกลูตาไธโอนที่มีประสิทธิภาพสูง และถูกใช้กันมาเป็นเวลานาน และสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายเวชภัณฑ์เสริมสุขภาพทั้งไปในสหรัฐ ยาในกลุ่ม NAC นี้ยังถูกนำมาใช้เพื่อละลายเมือกบุเนื้อเยื่อ (mucus) ในการรักษาโรคปอด เช่นโรคพังผืดที่ปอด (cystic fibrosis) โรคปอดอักเสบเรื้อรัง (chronic bronchitis) และโรคหืดหอบ (asthma) นอกจากนี้ยังถูกนำมาใช้ในการรักษา ผู้ใช้ยากลุ่ม acetaminophen เกินขนาด และยังเป็นสารที่นักวิจัยส่วนใหญ่นำไปใช้ในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเพิ่ม ระดับกลูตาไธโอนในคน
    แต่การใช้ยา NAC มีข้อเสีย 2 ประการด้วยกัน ประการแรกเป็นเพราะ NAC เป็นสารตัวยาสังเคราะห์จึงเสี่ยงกับการเกิดความเป็นพิษขึ้นได้ในร่างกาย ประการที่สองมาจากการเพิ่มขึ้นและลดลงอย่างรวดเร็วของระดับกลูตาไธโอนที่ ถูกกระตุ้มโดย NAC (short half life) โดยปริมาณ กลูตาไธโอนจะเพิ่มถึงระดับสูงสุดแล้วลดลงภายในไม่กี่ชั่วโมง และมักจะลดสู่ระดับที่ต่ำกว่าปกติ เพื่อแก้ไขปัญหานี้ จึงได้มีการใช้ NAC แบบฉีดเข้าเส้นเลือดดำ หรือรับประทานอย่างต่อเนื่อง เป็นจำนวนหลายครั้งต่อวัน ซึ่งอาจไม่เหมาะกับสภาพร่างกายของคนบางคน และอาจก่อให้เกิด อาการข้างเคียงต่างๆ กับผู้ใช้ ได้แก่ ผื่นคัน หายใจขัด คลื่นไส้ อาเจียน ตะคริว และท้องเสีย เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ใช้บางรายยังมีปัญหากับการยอมรับกลิ่นและรสชาติ ถึงแม้ความเสี่ยงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิตของการใช้ NAC จะต่ำมาก แต่ก็ยังพบว่ามีการรายงานการเสียชีวิตจากการใช้สารตัวยา NAC นี้ได้เช่นกัน แต่ถึงกระนั้น การเพิ่มระดับกลูตาไธโอนด้วย NAC ก็ยังเป็นวิธีที่นิยมใช้มากที่สุดในการวิจัยทางคลีนิก
    OTC (ornithine decarboxylase; procysteine), OTZ (oxothiazolidine carboxylate), glutathione monoesters และ glutathione diesters ล้วนเป็นสารสังเคราะห์ที่มีความสามารถจำกัดในการเพิ่มระดับกลูตาไธโอน และยังไม่มีสถิติที่รับรองความปลอดภัยในการใช้

สารที่มีคุณสมบัติในการเพิ่มระดับกลูตาไธโอน

ยา

Drugs

ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ

Natural products

ปัจจัยร่วมของกลูตาไธโอน

Glutathione co-factors

NAC Oral Glutathione Selenium
SAM Cysteine Vitamin B1
OTC Methionine Vitamin B2
OTZ Melatonin Vitamin B6
Procysteine Glutamine Vitamin B12
Glutathione monoesters Lipoic Acid Folate, Folic acid
Glutathione diesters Silymarin (milk thistle) Vitamin C
  Whey  Proteins Vitamin E
  Bioactive Whey Proteins (Immunocal / HMS 90) Other nutrients



ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่มีคุณสมบัติในการเพิ่มระดับกลูตาไธโอน

กลูตาไธโอนชนิดรับประทาน (Oral glutathione)
    กลูตาไธโอนที่นำมาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทั้งในรูปแบบอัดเม็ํดและผง นั้นไม่มีประโยชน์ในการช่วยเพิ่มระดับกลูตาไธโอนในร่างกาย เพราะปริมาณของกลูตาไธโอนส่วนใหญ่จะถูกสลายไปกับน้ำย่อยในกระบวนการย่อย อาหารและมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิต นอกจากการรับประทานกลูตาไธโอนจะไม่ช่วยให้ระดับกลูตาไธโอนสูงขึ้นแล้ว ยังอาจส่งผลให้ปริมาณกลูตาไธโอนภายในร่างกายลดลงอีกด้วย
แอล-ซีสเตอีน (L-Cysteine)
    ซีสเตอีนก็เป็นสารอีกชนิดที่พบได้ทั่วไปในร้านขายเวชภัณฑ์และร้านขายอาหาร เสริมสุขภาพ ซีสเตอีนมีความสามารถในการเพิ่มปริมาณกลูตาไธโอนภายในเซลได้ในจำนวนที่จำกัด เนื่องจากซีสเตอีนจะทำปฏิกิริยาทางออกซิเดชั่นเมื่อเดินทางผ่านระบบทางเดิน อาหารและถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตได้ยาก นอกจากนี้วารสารทางการแพทย์ยังได้รายงานถึงความเป็นพิษจากการใช้ซีสเตอีนไว้ อย่างชัดเจน
แอล-เมทไธโอนีน (L-Methionine)
    เมทไธโอนีน เป็นกรดอะมิโนจำเป็น (essential amino acid) ที่พบได้ในอาหารหลายชนิดและยังเป็นสารตั้งต้นในการสร้างกลูตาไธโอน แต่เมทไธโอนีนยังเป็นสารตั้งต้นของสารโฮโมซิสเตอีน (homocysteine) อีกด้วยเช่นกัน ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ถูกพบว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคการแข็งตัวของ ผนังหลอดเลือดแดง (artherosclerosis)
เมลาโทนิน (Melatonin)
    เมลาโทนินเป็นสารที่ควบคุมวงจรการนอนหลับและการตื่น ทำให้นิยมนำมาใช้ในการแก้อาการนอนไม่หลับจากการเดินทางข้ามโซนเวลา (Jet lag) และปัญหาอื่นๆที่เกี่ยวกับการนอนหลับ ประโยชน์ของเมลาโทนินนั้นอาจเกิดจากความสามารถในการเพิ่มปริมาณกลูตาไธโอนใน สมอง ตับ กล้ามเนื้อ โลหิต และเนี้อเยื่ออื่นๆ อย่างไรก็ตามการตอบสนองต่อเมลาโทนินจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน และยังไม่มีการศึกษาด้านความปลอดภัยของการใช้สารนี้ในระยะยาว ผู้ที่ต้องการใช้จึงควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์หรือเภสัช
กลูตามีน (Glutamine)
    การรับประทานหรือฉีดสารกลูตามีนทางเส้นเลือดดำ สามารถเพิ่มปริมาณกลูตาไธโอนได้ แต่ผู้ที่มีสุขภาพปกติไม่มีความจำเป็นต้องบริโภคสารนี้เพิ่มเติม เพราะนอกจากจะไม่มีประโยชน์แล้ว ยังอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น การระคายเคืองของระบบทางเดินอาหาร ฉะนั้นผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคไตและตับ ควรใช้กลูตามีนด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ และการใช้สารกลูตามีนเพื่อการบำบัดทางโภชนาการควรอยู่ในการควบคุมของแพทย์ เท่านั้น
กรดไลโปอิก (Lipoic acid)
    กรดไลโปอิกเป็นสารธรรมชาติที่ถูกสร้างขึ้นในร่างกายของเรา และสามารถพบได้ตามร้านขายอาหารสุขภาพทั่วๆ ไปในสหรัฐในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร กรดไลโปอิกมีคุณสมบัติในการช่วยปรับสภาพกลูตาไธโอนหลังจากขจัดอนุมูลอิสระ แล้วซึ่งเป็นสภาพที่ได้ปฏิกิริยาทางออกซิเดชั่นหรือหมดฤทธิ์ (oxidized) ให้กลับไปอยู่ในสภาพที่พร้อมทำงาน (reduced) ได้อีกครั้ง อย่างไรก็ตามคุณประโยชน์ของกรดไลโปอิกที่อาจมีต่อสุขภาพในด้านต่างๆยังอยู่ ในขั้นตอนของการศึกษาวิจัย
ซิลลีมาริน (Silybum marianum; silymarin; milk thistle)
    พืชชนิดนี้มีประวัติยาวนานในการนำมาใช้รักษาปัญหาเกี่ยวกับตับ เนื่องจากคุณสมบัติในการป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของไขมัน และในการคงระดับของกลูตาไธโอน แต่ก็มีข้อเสียเนื่องจากผลข้างเคียง เช่น การเกิดแก๊ส อาการตะคริว และท้องเสีย ดังนั้นการใช้ซิลลีมารินในการรักษาโรคตับจึงควรกระทำภายใต้การดูแลของแพทย์ เท่านั้น
เวย์โปรตีน (Whey proteins)
เวย์ โปรตีน หรือโปรตีนสกัดจากหางนม เป็นส่วนประกอบสำคัญของโปรตีนที่พบในนมมารดาและนมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อื่นๆ เวย์โปรตีนที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ถนอมโครงสร้างของโมเลกุลโปรตีนได้อย่าง สมบูรณ์แบบ สามารถนำไปสร้างกลูตาไธโอนได้อีกด้วย
    ผลิตภัณฑ์เวย์โปรตีนหลายชนิดที่โปรโมทให้กับผู้ที่สนใจดูแลสุขภาพ มีความหลากหลายทั้งในด้านส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ ความเข้มข้นของโปรตีนและรูปแบบของโปรตีัน รวมถึงคุณสมบัติอื่นๆทีมีผลต่อคุณค่าทางชีวภาพ (bioavailability) ของผลิตภัณฑ์อีกด้วย หลักเกณฑ์ที่สำคัญที่สุดที่เป็นเครื่องวัดคุณภาพของผลิตภัณฑ์อยู่ที่ระดับ การสูญเสียโครงสร้างดั้งเดิมของโมเลกุลโปรตีน (Protein denaturation) เพราะโปรตีนที่เสื่อมโครงสร้างจะมีประสิทธิภาพการทำงานของชีวโมเลกุลที่ลดลง ถึงแม้คุณค่าทางโภชนาการจะคงอยู่อย่างครบถ้วนก็ตาม นอกจากนี้นักโภชนาการยังแสดงความเป็นห่วงต่อปริมาณไขมัน และน้ำตาลแลคโตสที่พบอยู่สูงในบางผลิตภัณฑ์ ในขณะที่นักโภชนาการอีกหลายคนแสดงความกังวลกับการใช้สารตัวยาอย่างพร่ำ เพรื่อของอุตสาหกรรมผลิตนม โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะและสารสเตียรอยด์ เพื่อกระตุ้นผลผลิตนม รวมถึงความเสี่ยงจากการปนเปื้อนของสารพิษจากสิ่งแวดล้อม ทั้งชนิดที่ละลายในไขมันและละลายในน้ำ
    เวย์โปรตีนที่พบในนมดิบนั้นประกอบไปด้วยโปรตีนย่อย (peptides) ต่างๆ ที่มีคุณค่าทางชีวภาพสูงและสามารถนำไปใช้ในการสร้างกลูตาไธโอนได้อย่างมี ประสิทธิภาพ เช่น lactoferrin, beta-lactalbumin และ serum albumin ซึ่งล้วนแต่เป็นโมเลกุลที่ถูกทำลายได้ง่ายด้วยความร้อนหรือการปั่นกวนที่ รุนแรง นอกจากนี้การฆ่าเชื้อแบบพาสเจอร์ไรซ์ที่ใช้ความร้อนสูงและกระบวนการอื่นๆที่ ใช้ในอุตสาหกรรม ล้วนทำลายคุณค่าทางชีวภาพของผลิตภัณฑ์ก่อนที่จะถึงมือผู้บริโภค
    เพื่อรักษาคุณสมบัติทางชีวภาพของโปรตีนที่เป็นสารตั้งต้นในการสร้างกลูต่าไธ โอนไว้อย่างครบถ้วน เวย์โปรตีนจำเป็นต้องถูกสกัดจากน้ำนมอย่างระมัดระวัง ด้วยกระบวนการผลิตพิเศษที่ต้องมีมาตราการควบคุมอย่างใกล้ชิด เวยโปรตีนที่ขายกันในท้องตลาดมีปริมาณของโปรตีนในระดับที่แตกต่างกันระหว่าง 20-90% นอกจากนี้ยังแตกต่างกันในด้านส่วนประกอบ รวมถึงระดับการเสื่อมสภาพทางชีวภาพของโปรตีนที่เป็นสารตั้งต้นของกลูตาไธโอน เวย์โปรตีนส่วนใหญ่ที่เน้นขายให้นักกีฬาเพาะกล้ามมักขาดคุณสมบัติทางชีวภาพ นี้

เวย์โปรตีนที่คงคุณค่าทางชีวภาพ (Bioactive whey protein)
    เวย์โปรตีนที่คงคุณค่าทางชีวภาพ ประกอบไปด้วยโปรตีนย่อยที่ยังคงโครงสร้างดั้งเดิมของโปรตีน (non-denature) ไว้ในระดับสูง จึงมีคุณสมบัติในการส่งเสริมการผลิตกลูตาไธโอนให้กับร่างกาย ความรู้ส่วนใหญ่ที่เกี่ยวกับคุณสมบัติของเวย์โปรตีนในการเพิ่มระดับกลูตาไธ โอน เป็นผลงานวิจัยของ Dr. Gustavo Bounous ที่เริ่มต้นขึ้นในช่วงปี 1980 ณ มหาวิทยาลัย McGill มอนทรีออล ประเทศแคนนาดา Dr. Gustavo Bounous ได้ค้นพบคุณสมบัติทางชีวภาพที่มีคุณค่ายิ่งของเวย์โปรตีน ขณะที่กำลัังทำการศึกษาเกี่ยวกับการใช้โปรตีนในรูปแบบของอาหารเสริม และได้ทำการวิจัยค้นคว้าถึงผลของการใช้เวย์โปรตีนที่คงคุณค่าชีวภาพในการ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน จนได้ตีพิมพ์ผลงานที่เป็นที่กล่าวขานในวงการวิทยาศาสตร์และโภชนาการ ผลงานดังกล่าวได้นำไปสู่การสนับสนุนการทำวิจัยการเพิ่มระดับกลูตาไธโอนในผู้ ป่วยโรคต่างๆ โดยนักวิจัยหลายทีม และในที่สุดได้นำไปสู่การผลิตสินค้าที่ชื่อ Immunocal ในสหรัฐอเมริกา หรือ HMS 90 ในแคนนาดา เวย์โปรตีนที่ผลิตขึ้นด้วยมาตราฐานเภสัชภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติทางชีวภาพระดับ สูง

กลูตาไธโอนกับสุขภาพและการเกิดโรค

นัก วิทยาศาสตร์ต่างเชื่อกันว่ากลูตาไธโอนเป็นสารที่มีศักยภาพที่สำคัญในการ บำบัดและป้องกันโรคต่างๆ มากมายหลายร้อยชนิด ในอนาคตอันใกล้กลูตาไธโอนอาจถูกพิจารณาให้เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญต่อ สุขภาพ เช่นเดียวกับการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน การออกกำลังกายและพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่มีสุขภาพ ผลจากการศึกษาทางคลีนิกบ่งชี้ว่าระดับกลูตาไธโอนที่สูงขึ้นอาจมีผลต่อการ ป้องกันและควบคุมโรคเรื้อรังและร้ายแรงที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่ของสุขภาพคนเรา ในขณะนี้ ได้แก่ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดในสมอง โรคเบาหวาน ภาวะคลอเรสเตอรอลสูง โรคหืดหอบ การสูบบุหรี่ โรคไวรัสตับอักเสบ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง(เอดส์) และโรคอื่นๆอีกมากมาย เนื้่องจากกลูตาไธโอนสามารถช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับภัยคุกคามจากโรคต่างๆได้ ตามธรรมชาติ
    คนที่มีสุขภาพแข็งแรงก็สามารถได้รับประโยชน์จากการมีระดับกลูตาไธโอนที่สูง ขึ้นได้ จากความสามารถที่สูงขึ้นในการต่อต้านสารพิษ โรคติดต่อ เซลที่อาจกลายเป็นมะเร็ง และการเสื่อมจากอายุ การลดลงของระดับกลูตาไธโอน เป็นผลพวงของการมีอายุสูงขึ้น และพบได้ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน และโรคอัลไซมเมอร์
    กลูตาไธโอนยังไม่ความสำคัญต่อคนที่ต้องใช้พลังงานมาก นักกีฬาระดับโลกหลายคนตระหนักดีว่าการรักษาระดับกลูตาไธโอนให้สูงไว้ จะทำให้มีความได้เปรียบเหนือคู่แข็ง โดยจะส่งผลให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงและออกกำลังได้ยายนานยิ่งขึ้น ลดระยะเวลาในการรักษาตัวจากการบาดเจ็บ ลดอาการเจ็บปวดของกล้ามเนื้อและอาการเหนื่อยล้า ตลอดจนช่วยส่งเสริมขบวนการสร้างกล้ามเนื้อ

สรุป
- ทุกวันนี้ วิทยาศาสตร์การแพทย์ยังดำเนินการวิจัยและมีการค้นพบบทบาทใหม่ๆ ที่สำคัญของกลูตาไธโอนอย่งต่อเนื่องในการต้านทานโรค และการมีสุขภาพที่แข็งแรง หลักฐานทางคลีนิกพบว่าระดับกลูตาไธโอนที่ต่ำมีความสัมพันธ์กับการเป็นโรค เรื้อรังต่างๆ ที่กำลังเป็นปัญหาในปัจจุบันตลอดจนโรคใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น
- กลูตาไธโอนมีคุณสมบัติในการพิทักษ์สุขภาพ โดยทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญของร่างกาย (Antioxidant) ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ (Immune System Booster) และกำจัดสารพิษรวมทั้งสารก่อมะเร็งนานาชนิดออกจากร่างกาย (Detoxifier) แต่การรับประทานกลูตาไธโอนในรูปอาหารเสริมจะไม่ช่วยให้ร่างกายมีระดับกลูตา ไธโอนที่สูงขึ้น เนื่องจากจะไม่สามารดูดซึมผ่านระบบทางเดินอาหารได้ดีพอ วิธีที่ดีที่สุดคือการมอบสารประกอบให้ร่างกายนำไปสร้างกลูตาไธโอนขึ้นเองภาย ในเซล
- วงการเภสัชได้ทำการผลิตสารตัวยาเพื่อใช้เพิ่มระดับกลูตาไธโอนภายในร่าง กายอย่างได้ผล และมีคุณประโยชน์ ในการรักษาคนไข้กรณีฉุกเฉิน แต่เนื่องจากผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น จึงไม่เหมาะที่จะนำไปใช้ต่อเนื่องระยะยาว และเมื่อไม่นานมานี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบวิธีธรรมชาติในการเพิ่มระดับกลูตาไธโอนในรูปของอาหาร เสริมที่ปลอดภัย และมีการพิสูจน์ประสิทธิภาพที่เชื่อถือได้ การค้นพบคุณสมบัติพิเศษของเวย์โปรตีน ที่อุดมคุณค่าทางชีวภาพนี้ นับเป็นก้าวสำคัญของวิวัฒนาการของวงการโภชนาการบำบัด

All Replys: 1   Pages: 1/1
guest
เค
- Guest -
2011-05-07 10:01:44.0Post : 2011-05-07 10:01:44.0

ทานแล้วเห็นผลได้ดี ขาวขื้น ใสขื้น จริง

1
1