วันที่: 2010-07-29 11:49:41.0
แพทย์เชียงใหม่วิจัย พบยารักษามะเร็งปอด
บทความจาก http://jsoc.wordpress.com/2009/09/12/แพทย์เชียงใหม่วิจัย-พบย/
ศ.พ.ญ.สุมิตรา ทองประเสริฐ นายกมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย อาจารย์ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า การรักษาโรคมะเร็งปอดมีค่าใช้จ่ายสูงมาก อีกทั้งโรคนี้ตรวจวินิจฉัยอาการในช่วงเริ่มต้นค่อนข้างยาก จะตรวจพบก็ต่อเมื่อก้อนมะเร็งในปอดมีขนาดใหญ่ หรือมะเร็งลุกลามสู่อวัยวะอื่นๆ แล้ว ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงมีชีวิตภายหลังการตรวจพบไม่เกิน 1 ปี
มะเร็งปอดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตในอันดับต้นๆ ของประชากรไทยในปี 2546 ผู้เสียชีวิตจากมะเร็งปอดสูงเป็นอันดับ 2 จำนวน 7,607 ราย รองจากมะเร็งตับและท่อน้ำดี โดยผู้ป่วยเมื่อเป็นโรคนี้จะมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 90 ที่ผ่านมา ทำให้มีความพยายามในการวิจัยยารักษามะเร็งปอดขนานใหม่ๆ อยู่เสมอ“วิธีการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดระยะสุดท้าย เดิมจะใช้วิธีการรักษาด้วยการฉายรังสี การใช้เคมีบำบัดเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง แต่ขณะนี้ได้มีการนำยามะเร็งปอดขนานใหม่ชื่อสามัญว่าเจฟิทินิบ (Gefitinib) รับประทาน 1 เม็ดต่อวัน มาช่วยในการักษา
ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดแล้วแต่อาการไม่ตอบสนอง การเปรียบเทียบผลระหว่างการใช้ยากับเคมีบำบัดพบว่า การใช้เคมีบำบัดจะส่งผลต่อผู้ป่วย คือ ร่างกายสร้างไขกระดูกและเม็ดเลือดต่ำ เสี่ยงต่อการติดเชื้อ อีกทั้งยังมีอาการข้างเคียง เช่น ผมร่วง อาเจียน กินข้าวไม่ได้ ต่างจากการรักษาด้วยยา Gefitinib แต่ยานี้มีผลข้างเคียง คือ ผู้ป่วยบางรายมีอาการเป็นสิวอย่างรุนแรง ผิวแห้ง ท้องเดิน”
ศ.พ.ญ.สุมิตรา กล่าวอีกว่า คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เริ่มวิจัยการใช้ยา Gefitinib เมื่อ 2 ปีที่แล้วที่ รพ.มหาราชเชียงใหม่ กับผู้ป่วยประมาณ 40 ราย ปรากฏว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ เพราะทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดมีอาการดีขึ้นร้อยละ 20-30 อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคมะเร็งให้หายขาด เพียงแต่ช่วยคุมอาการให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ยืดชีวิตผู้ป่วยได้นานขึ้น แต่ต้องกินยาทุกวันอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะคุมอาการไม่ได้จึงเลิกกิน หลังจากให้ยา Gefitinib 2-4 สัปดาห์หากผู้ป่วยมีอาการโรคกำเริบแพทย์ก็จะเลิกให้ยานี้ เพราะผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อยา อีกทั้งยานี้ราคาสูงมากราคากล่องละ70,000-80,000 บาท หรือเม็ดละ 2,000 บาท ผู้ป่วย 1 รายมีค่าใช้จ่ายกว่า 61,000 บาทต่อเดือน
ดังนั้น ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ด้าน ดร.จอห์น เบคอน-ชอน ผู้ช่วยคณบดีFaculty of Social Sciences มหาวิทยาลัยฮ่องกง เปิดเผยถึงผลการสำรวจการรับรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปอดในเอเชีย ซึ่งได้ทำการสำรวจความคิดเห็นในประชากร 500 คน ทั้งชายและหญิงซึ่งมีอายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป ใน 5 แห่ง คือ จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และไต้หวันโดยพบว่า ประชากรส่วนใหญ่ขาดความรู้ในเรื่องโรคมะเร็งปอดโดยมากกวา่ครงึ่ หนงึ่ ของผู้ถูกสัมภาษณหรือร้อยละ 51.8 ไม่รู้อาการของโรคมะเร็งปอด ซึ่งในจำนวนนี้ร้อยละ 30 ทราบแต่เพียงว่ามีอาการไออย่างต่อเนื่องเท่านั้น
นอกจากนี้ ประมาณร้อยละ 80ของผู้ถูกสัมภาษณ์ ไม่รู้ผลกระทบของโรคนี้ และคิดว่ามีอัตราการเสียชีวิตไม่มาก และเมื่อถามถึงทางเลือกการรักษา ส่วนใหญ่ต่างไม่ทราบเช่นกัน จึงจำเป็นที่ต้องเร่งให้ความรู้เกี่ยวกับมะเร็งปอดแก่สาธารณชน เพราะการขาดข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่แรกเริ่ม ซึ่งจะส่งผลต่อการรักษาที่ดีและเหมาะสม
หลักสำคัญในการรักษามะเร็งก็คือ การเสริมสร้างให้ร่างกายมีระบบภูมิต้านทานที่ดีที่สุด ลดผลข้างเคียงจากยาเคมีและรังสี ป้องกันการฉวยโอกาสจากเชื้อโรคแวดล้อม และฟื้นตัวจากการรักษาให้เร็วที่สุด
|
|
|