วันที่: 2010-09-18 22:23:11.0
GLUTATHIONE
It’s role in cancer & anticancer therapy
บทบาทสำคัญของกลูตาไธโอนในโรคมะเร็ง และการบำบัดมะเร็ง
Dr. Jimmy Gutman MD,FACEP
“ทำไม ร่างกายของเราจำเป็นต้องมีกลูตาไธโอนอย่างเพียงพอ สารสำคัญนี้สามารถช่วยป้องกันและต่อต้านมะเร็ง พร้อมทั้งลดผลข้างเคียงจากการใช้เคมีบำบัด และรังสีบำบัดได้อย่างไร”
กลูตาไธโอน คืออะไร
- กลูตาไธโอน (Glutathione) เป็นชีวโมเลกุลขนาดเล็กที่ร่างกายสร้างขึ้นเองตามธรรมชาติ และเป็นโปรตีนที่มีบทบาทสำคัญต่อการทำงานต่างๆ ของร่างกาย เช่น การทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) การกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน (Immune booster) และการกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย (Detoxifier) ด้วยเหตุนี้ กลูตาไธโอนจึงมีความสำคัญยิ่งยวดต่อการดำเนินชีวิต หากร่างกายขาดสารกลูตาไธโอนเซลของเราจะแตกสลายจากการทำงานของอนุมูลอิสระ จำนวนมหาศาล ร่างกายจะสูญเสียภูมิต้านทานต่อเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และมะเร็ง ตับจะวายจากการสะสมของสารพิษนานาชนิดในเวลาอันรวดเร็ว
- กลูตาไธโอน คือชื่อของผู้พิทักษ์เซลที่อาจยังไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย แม้แต่แพทย์ส่วนใหญ่ที่เคยได้ยินเกี่ยวกับกลูตาไธโอนมาแล้วบ้าง แต่ก็มีน้อยคนที่เข้าใจและตระหนักถึงบทบาทสำคัญของสารตัวนี้ กลูตาไธโอนกำลังจะกลายมาเป็นกลยุทธ์สำคัญในการดูแลสุขภาพ เช่นเดียวกันกับการรับประทานวิตามินและการควบคุมระดับคลอเรสเตอรอล และ ณ บัดนี้ก็ได้มาถึงคราวของกลูตาไธโอน ดังจะเห็นได้จากงานวิจัยทางการแพทย์ที่ถูกตีพิมพ์เกี่ยวกับสารนี้ภายใน 5 ปีที่ผ่านมา ที่มีมากถึง 25,000 ฉบับ และผลการค้นคว้าเหล่านี้กำลังช่วยส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับกลูตาไธโอนให้ เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ
- เซลในร่างกายของเราทุกๆเซลมีหน้าที่สร้างกลูตาไธโอนขึ้นเองตามความต้องการ และจำเป็นต้องมีสารตั้งต้นในการสร้างที่พอเพียง ในแต่ละวันร่างกายมีความต้องการใช้กลูตาไธโอนเป็นจำนวนมากและอัตราการใช้จะ ยิ่งเพิ่มมากขึ้น เมื่อร่างกายประสบกับสภาวะที่ท้าทายต่อสุขภาพต่างๆ เช่น การเจ็บป่วย ความเครียด ความเหนื่อยล้า หรือแม้กระทั่งการออกกำลังกาย ปัจจัยต่างๆ ที่สามารถนำไปสู่ภาวะบกพร่องของกลูตาไธโอนในร่างกาย นอกจากนี้ระดับกลูตาไธโอนจะลดลงตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น และการเกิดโรคต่างๆ ในร่างกายที่มักเกิดขึ้นในวัยสูงอายุ มักพบว่ามีความเกี่ยวเนื่องกับการขาดกลูตาไธโอนทั้งสิ้น
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการลดระดับของกลูตาไธโอนภายในเซล
1. มละภาวะแวดล้อม
2. ยาและสารเคมี
3. รังสีและคลื่นความร้อน
4. การบาดเจ็บ แผลไหม้
5. การติดเชื้อ
6. ความเครียด
7. ความชรา
8. ทุพโภชนาการ
ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ ล้วนก่อให้เกิดการสูญเสียกลูตาไธโอนภายในเซล ส่งผลให้เกิดการเสื่อมถอยของเซล การเกิดโรค และการเสียชีวิต
“การ มีระดับกลูตาไธโอนต่ำ จะนำไปสู่ความเสื่อมของร่างกายก่อนวัย การเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ และความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต การเพิ่มระดับกลูตาไธโอนให้ร่างกายจะช่วยหยุดยั้งวงจรนี้ได้”
Adapted from Kidd&Huber, “Natural Antioxidants - First Line of Defense”, 1991
เพราะเหตุใดกลูตาไธโอนจึงมีความสำคัญต่อสุขภาพ
บทบาทที่สำคัญ 3 ประการภายในร่างกายของคนเราของกลูตาไธโอน สามารถสรุปได้ตามตัวอักษรภาษาอังกฤษสามตัว คือ A-I-D ซึ่งเป็นอักษรย่ิของกระบวนการทางชีวภาพต่างๆ ที่ถูกขับเคลื่อนโดยกลูตาไธโอน ได้แก่ Antioxidant (สารต้านอนุมูลอิสระ) Immune booster (การกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน) และ Detixifier (การขับสารพิษออกจากร่างกาย)
ยอดแห่งสารต่อต้านอนุมูลอิสระ (The Master Antioxidant)
กว่า 30 ปีที่ผ่านมา นักวิจัยทั่วโลกได้ทำการศึกษาคุณประโยชน์ต่างๆ ของสารต้านอนุมูลอิสระที่ส่งผลต่อสุขภาพของคนเรา ซึ่งรวมถึงบทบาทในการรักษาและป้องกันการเกิดโรคที่มีสาเหตุมาจากการทำลาย โดยอนุมูลอิสระ (Oxidative stress) ด้วยเหตุนี้เอง ชีววิทยาด้านอนุมูลอิสระ (Free radical biology) ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์การแพทย์แขนงใหม่จึงได้เกิดขึ้น และมีการพบว่า อนุมูลอิสระเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การเกิดโรคต่างๆ มากมาย ตั้งแต่ โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และความชรา
วิตามินC, วิตามินE และเซเลเนียม เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่คนส่วนใหญ่รู้จักดี และใช้กันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากสารเหล่านี้พบอยู่ในธรรมชาติ มิได้เกิดขึ้นเองภายในเซล คนเราจึงต้องอาศัยการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการเพื่อรับวิตามิน และเกลือแร่เหล่านี้เข้าสู่ร่างกายอย่างเพียงพอ เนื่องจากสารต้านอนุมูลอิสระเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อสุขภาพ จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจว่า ร่างกายของเราสามารถผลิตสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดได้เอง และหนึ่งในบรรดาสารต้านอนุมูลอิสระที่มีความสำคัญที่สุดของร่างกายก็คือ กลูตาไธโอน เพราะการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพของสารต้านอนุมูลอิสระชนิดอื่นๆ ล้วนต้องขึ้นอยู่กับระดับกลูตาไธโอนภายในเซล นัำกวิทยาศาสตร์จึงขนานนาม กลูตาไธโอนว่าเป็น “ยอดแห่งสารต่อต้านอนุมูลอิสระ”
อาหารของระบบภูมิคุ้มกัน (Food for the Immune System)
หน้าที่หลักของระบบภูมิคุ้มกันคือ รับรู้และบ่งบอกชนิดของเชื้อโรคที่บุกรุกเข้ามาในร่างกาย และทำลายเชื้อโรค รวมทั้งสารแปลกปลอมอื่น ตลอดจนเซลมะเร็ง ร่างกายที่มีปริมาณกลูตาไธโอนเพียงพอ จะสามารถควบคุมปริมาณและการแพร่กระจายของเชื้อโรค และกำจัดเชื้อโรคได้อย่างรวดเร็ว การมีกลูตาไธโอนในระดับสูงจะส่งผลให้ร่างกายสามารถผลิตเม็ดเลือดขาวได้มาก ตามความจำเป็น โดยเม็ดเลือดขาวนี้เองคือด่านแรกของระบบภูมิคุ้มกันที่ร่างกายใช้ในการปก ป้องจากภัยคุกคามจากภายนอก
กลูตาไธโอนมีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งกับระบบภูมิคุ้มกัน Dr. Gustavo Bounous ผู้เชี่ยวชาญด้านกลูตาไธโอน ได้กล่าวว่า “ระดับของกลูตาไธโอน คือ ปัจจัยที่กำหนดประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาว ชนิดลิมโฟไซด์ (Lymphocytes)” กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การแบ่งตัวเพื่อระดมกำลังพลและการทำงานของเซลเม็ดเลือดขาว ขึ้นอยู่กับระดับของกลูตาไธโอนที่มีอยู่ในร่างกาย หรืออาจสรุปได้ว่า กลูตาไธโอนเปรียบเสมือนอาหารของระบบภูมิคุ้มกัน นั้นเอง
การขจัดพิษออกตามธรรมชาติ (Natural Detoxifier)
ทุกๆวัน เราทุกคนล้วนสูดหายใจและบริโภคสารพิษนานาชนิดทั้งที่เป็นสารธรรมชาติ และสารสังเคราะห์ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนในสังคมยุคปัจจุบันไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เนื่องจากต้องอยู่ท่ามกลางมลพิษในเมืองและบริโภคอาหารที่เป็นผลผลิต จากกระบวนการอุตสาหกรรม หากร่างกายของเรามีสุขภาพมีสุขภาพดีและได้รับสารอาหารที่มีคุณค่าทาง โภชนาการอย่างเพียงพอ ร่างกายจะสามารถทำงานเพื่อกำจัดสารพิษออกไปอย่างไม่หยุดหย่อน แต่ระดับมลพิษที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในสิ่งแวดล้อมจะส่งผลให้ปริมาณกลูตาไธโอนลดลงอย่างรวดเร็ว อวัยวะหลักในการกำจัดพิษของร่างกายคือ ตับ ซึ่งเป็นอวัยวะที่มีกลูตาไธโอนในระดับสูง จากการศึกษาพบว่าการมีระดับกลูตาไธโอนต่ำในตับส่งผลให้การทำงานของตับลดลง และนำไปสู่การมีระดับสารพิษที่ไหลเวียนในร่างกายเพิ่มขึ้นจนก่อให้เกิดความ เสียหายต่อเซลและความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ คุณสมบัติของกลูตาไธโอนในการกำจัดพิษนี้เป็นเหตุให้แพทย์เลือกใช้ยาที่มี คุณสมบัติในการเพิ่มระดับกลูตาไธโอน เพื่อช่วยในการขจัดสารพิษในผู้ป่วยที่รับประทานยาแก้ปวดบางชนิด เช่น ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) เกินขนาด
กลูตาไธโอน กับการแพทย์ธรรมชาติบำบัด
ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสตร์การแพทย์บูรณาการ (Complementary medicine) ได้สนับสนุนการใช้ milk thistle ในการรักษาโรคตับมาเป็นเวลานาน ซึ่งต่อมาได้มีการพบว่า พืชชนิดนี้มีคุณสมบัติในการเพิ่มกลูตาไธโอนให้ร่างกายได้ในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ยังพบว่า แร่ธาตุเซเลเนียม เป็นสารอีกชนิดที่สามารถกระตุ้นการทำงานและเพิ่มระดับกลูตาไธโอนได้เช่นกัน โดยการเข้าไปรวมตัวกับเอมไซม์ Glutathione peroxidase
กลูตาไธโอน กับการแพทย์แผนปัจจุบัน
แพทย์แผนกฉุกเฉิน นักพิษวิทยา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านปอดและตับ มักคุ้นเคยกับการใช้กลูตาไธโอนในการรักษา แพทย์ชาวอเมริกันที่ต้องการเพิ่มระดับกลูตาไธโอนให้คนไข้ สามารถค้นหาข้อมูลจากหนังสืออ้างอิงยาของแพทย์ (Physician’s Desk Reference:PDR) ซึ่งชี้แจงวิธีที่สามารถเพิ่มระดับกลูตาไธโอนไว้ 2 มาตราการ ได้แก่ ยา NAC (n-acetyl cysteine) ซึ่งมีจำหน่ายภายใต้ชื่อยี่ห้อ Mucosil และ Mucomyst หรือผลิตภัณฑ์ Immunocal (HMS 90) ซึ่งเป็นเวย์โปรตีนสกัดด้วยกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับการจดทะเบียนสิทธิบัตร
ยาที่มีคุณสมบัติในการเพิ่มระดับกลูตาไธโอน
สารตัวยาเภสัชภัณฑ์ตามตารางทั้งหมดมีคุณสมบัติในการเพิ่มระดับกลูตาไธโอนให้ ร่างกายได้ อย่างไรก็ตามการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้เช่นกัน จึงไม่เหมาะสมกับการใช้ในระยะยาว ยาในกลุ่ม NAC (n-acetyl-cysteine) เป็นสารตั้งต้นในการสร้างกลูตาไธโอนที่มีประสิทธิภาพสูง และถูกใช้กันมาเป็นเวลานาน และสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายเวชภัณฑ์เสริมสุขภาพทั้งไปในสหรัฐ ยาในกลุ่ม NAC นี้ยังถูกนำมาใช้เพื่อละลายเมือกบุเนื้อเยื่อ (mucus) ในการรักษาโรคปอด เช่นโรคพังผืดที่ปอด (cystic fibrosis) โรคปอดอักเสบเรื้อรัง (chronic bronchitis) และโรคหืดหอบ (asthma) นอกจากนี้ยังถูกนำมาใช้ในการรักษา ผู้ใช้ยากลุ่ม acetaminophen เกินขนาด และยังเป็นสารที่นักวิจัยส่วนใหญ่นำไปใช้ในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเพิ่ม ระดับกลูตาไธโอนในคน
แต่การใช้ยา NAC มีข้อเสีย 2 ประการด้วยกัน ประการแรกเป็นเพราะ NAC เป็นสารตัวยาสังเคราะห์จึงเสี่ยงกับการเกิดความเป็นพิษขึ้นได้ในร่างกาย ประการที่สองมาจากการเพิ่มขึ้นและลดลงอย่างรวดเร็วของระดับกลูตาไธโอนที่ ถูกกระตุ้มโดย NAC (short half life) โดยปริมาณ กลูตาไธโอนจะเพิ่มถึงระดับสูงสุดแล้วลดลงภายในไม่กี่ชั่วโมง และมักจะลดสู่ระดับที่ต่ำกว่าปกติ เพื่อแก้ไขปัญหานี้ จึงได้มีการใช้ NAC แบบฉีดเข้าเส้นเลือดดำ หรือรับประทานอย่างต่อเนื่อง เป็นจำนวนหลายครั้งต่อวัน ซึ่งอาจไม่เหมาะกับสภาพร่างกายของคนบางคน และอาจก่อให้เกิด อาการข้างเคียงต่างๆ กับผู้ใช้ ได้แก่ ผื่นคัน หายใจขัด คลื่นไส้ อาเจียน ตะคริว และท้องเสีย เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ใช้บางรายยังมีปัญหากับการยอมรับกลิ่นและรสชาติ ถึงแม้ความเสี่ยงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิตของการใช้ NAC จะต่ำมาก แต่ก็ยังพบว่ามีการรายงานการเสียชีวิตจากการใช้สารตัวยา NAC นี้ได้เช่นกัน แต่ถึงกระนั้น การเพิ่มระดับกลูตาไธโอนด้วย NAC ก็ยังเป็นวิธีที่นิยมใช้มากที่สุดในการวิจัยทางคลีนิก
OTC (ornithine decarboxylase; procysteine), OTZ (oxothiazolidine carboxylate), glutathione monoesters และ glutathione diesters ล้วนเป็นสารสังเคราะห์ที่มีความสามารถจำกัดในการเพิ่มระดับกลูตาไธโอน และยังไม่มีสถิติที่รับรองความปลอดภัยในการใช้
สารที่มีคุณสมบัติในการเพิ่มระดับกลูตาไธโอน
ยา Drugs |
ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ Natural products |
ปัจจัยร่วมของกลูตาไธโอน Glutathione co-factors |
NAC | Oral Glutathione | Selenium |
SAM | Cysteine | Vitamin B1 |
OTC | Methionine | Vitamin B2 |
OTZ | Melatonin | Vitamin B6 |
Procysteine | Glutamine | Vitamin B12 |
Glutathione monoesters | Lipoic Acid | Folate, Folic acid |
Glutathione diesters | Silymarin (milk thistle) | Vitamin C |
Whey Proteins | Vitamin E | |
Bioactive Whey Proteins (Immunocal / HMS 90) | Other nutrients |
ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่มีคุณสมบัติในการเพิ่มระดับกลูตาไธโอน
กลูตาไธโอนชนิดรับประทาน (Oral glutathione)
กลูตาไธโอนที่นำมาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทั้งในรูปแบบอัดเม็ํดและผง นั้นไม่มีประโยชน์ในการช่วยเพิ่มระดับกลูตาไธโอนในร่างกาย เพราะปริมาณของกลูตาไธโอนส่วนใหญ่จะถูกสลายไปกับน้ำย่อยในกระบวนการย่อย อาหารและมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิต นอกจากการรับประทานกลูตาไธโอนจะไม่ช่วยให้ระดับกลูตาไธโอนสูงขึ้นแล้ว ยังอาจส่งผลให้ปริมาณกลูตาไธโอนภายในร่างกายลดลงอีกด้วย
แอล-ซีสเตอีน (L-Cysteine)
ซีสเตอีนก็เป็นสารอีกชนิดที่พบได้ทั่วไปในร้านขายเวชภัณฑ์และร้านขายอาหาร เสริมสุขภาพ ซีสเตอีนมีความสามารถในการเพิ่มปริมาณกลูตาไธโอนภายในเซลได้ในจำนวนที่จำกัด เนื่องจากซีสเตอีนจะทำปฏิกิริยาทางออกซิเดชั่นเมื่อเดินทางผ่านระบบทางเดิน อาหารและถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตได้ยาก นอกจากนี้วารสารทางการแพทย์ยังได้รายงานถึงความเป็นพิษจากการใช้ซีสเตอีนไว้ อย่างชัดเจน
แอล-เมทไธโอนีน (L-Methionine)
เมทไธโอนีน เป็นกรดอะมิโนจำเป็น (essential amino acid) ที่พบได้ในอาหารหลายชนิดและยังเป็นสารตั้งต้นในการสร้างกลูตาไธโอน แต่เมทไธโอนีนยังเป็นสารตั้งต้นของสารโฮโมซิสเตอีน (homocysteine) อีกด้วยเช่นกัน ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ถูกพบว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคการแข็งตัวของ ผนังหลอดเลือดแดง (artherosclerosis)
เมลาโทนิน (Melatonin)
เมลาโทนินเป็นสารที่ควบคุมวงจรการนอนหลับและการตื่น ทำให้นิยมนำมาใช้ในการแก้อาการนอนไม่หลับจากการเดินทางข้ามโซนเวลา (Jet lag) และปัญหาอื่นๆที่เกี่ยวกับการนอนหลับ ประโยชน์ของเมลาโทนินนั้นอาจเกิดจากความสามารถในการเพิ่มปริมาณกลูตาไธโอนใน สมอง ตับ กล้ามเนื้อ โลหิต และเนี้อเยื่ออื่นๆ อย่างไรก็ตามการตอบสนองต่อเมลาโทนินจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน และยังไม่มีการศึกษาด้านความปลอดภัยของการใช้สารนี้ในระยะยาว ผู้ที่ต้องการใช้จึงควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์หรือเภสัช
กลูตามีน (Glutamine)
การรับประทานหรือฉีดสารกลูตามีนทางเส้นเลือดดำ สามารถเพิ่มปริมาณกลูตาไธโอนได้ แต่ผู้ที่มีสุขภาพปกติไม่มีความจำเป็นต้องบริโภคสารนี้เพิ่มเติม เพราะนอกจากจะไม่มีประโยชน์แล้ว ยังอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น การระคายเคืองของระบบทางเดินอาหาร ฉะนั้นผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคไตและตับ ควรใช้กลูตามีนด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ และการใช้สารกลูตามีนเพื่อการบำบัดทางโภชนาการควรอยู่ในการควบคุมของแพทย์ เท่านั้น
กรดไลโปอิก (Lipoic acid)
กรดไลโปอิกเป็นสารธรรมชาติที่ถูกสร้างขึ้นในร่างกายของเรา และสามารถพบได้ตามร้านขายอาหารสุขภาพทั่วๆ ไปในสหรัฐในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร กรดไลโปอิกมีคุณสมบัติในการช่วยปรับสภาพกลูตาไธโอนหลังจากขจัดอนุมูลอิสระ แล้วซึ่งเป็นสภาพที่ได้ปฏิกิริยาทางออกซิเดชั่นหรือหมดฤทธิ์ (oxidized) ให้กลับไปอยู่ในสภาพที่พร้อมทำงาน (reduced) ได้อีกครั้ง อย่างไรก็ตามคุณประโยชน์ของกรดไลโปอิกที่อาจมีต่อสุขภาพในด้านต่างๆยังอยู่ ในขั้นตอนของการศึกษาวิจัย
ซิลลีมาริน (Silybum marianum; silymarin; milk thistle)
พืชชนิดนี้มีประวัติยาวนานในการนำมาใช้รักษาปัญหาเกี่ยวกับตับ เนื่องจากคุณสมบัติในการป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของไขมัน และในการคงระดับของกลูตาไธโอน แต่ก็มีข้อเสียเนื่องจากผลข้างเคียง เช่น การเกิดแก๊ส อาการตะคริว และท้องเสีย ดังนั้นการใช้ซิลลีมารินในการรักษาโรคตับจึงควรกระทำภายใต้การดูแลของแพทย์ เท่านั้น
เวย์โปรตีน (Whey proteins)
เวย์ โปรตีน หรือโปรตีนสกัดจากหางนม เป็นส่วนประกอบสำคัญของโปรตีนที่พบในนมมารดาและนมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อื่นๆ เวย์โปรตีนที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ถนอมโครงสร้างของโมเลกุลโปรตีนได้อย่าง สมบูรณ์แบบ สามารถนำไปสร้างกลูตาไธโอนได้อีกด้วย
ผลิตภัณฑ์เวย์โปรตีนหลายชนิดที่โปรโมทให้กับผู้ที่สนใจดูแลสุขภาพ มีความหลากหลายทั้งในด้านส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ ความเข้มข้นของโปรตีนและรูปแบบของโปรตีัน รวมถึงคุณสมบัติอื่นๆทีมีผลต่อคุณค่าทางชีวภาพ (bioavailability) ของผลิตภัณฑ์อีกด้วย หลักเกณฑ์ที่สำคัญที่สุดที่เป็นเครื่องวัดคุณภาพของผลิตภัณฑ์อยู่ที่ระดับ การสูญเสียโครงสร้างดั้งเดิมของโมเลกุลโปรตีน (Protein denaturation) เพราะโปรตีนที่เสื่อมโครงสร้างจะมีประสิทธิภาพการทำงานของชีวโมเลกุลที่ลดลง ถึงแม้คุณค่าทางโภชนาการจะคงอยู่อย่างครบถ้วนก็ตาม นอกจากนี้นักโภชนาการยังแสดงความเป็นห่วงต่อปริมาณไขมัน และน้ำตาลแลคโตสที่พบอยู่สูงในบางผลิตภัณฑ์ ในขณะที่นักโภชนาการอีกหลายคนแสดงความกังวลกับการใช้สารตัวยาอย่างพร่ำ เพรื่อของอุตสาหกรรมผลิตนม โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะและสารสเตียรอยด์ เพื่อกระตุ้นผลผลิตนม รวมถึงความเสี่ยงจากการปนเปื้อนของสารพิษจากสิ่งแวดล้อม ทั้งชนิดที่ละลายในไขมันและละลายในน้ำ
เวย์โปรตีนที่พบในนมดิบนั้นประกอบไปด้วยโปรตีนย่อย (peptides) ต่างๆ ที่มีคุณค่าทางชีวภาพสูงและสามารถนำไปใช้ในการสร้างกลูตาไธโอนได้อย่างมี ประสิทธิภาพ เช่น lactoferrin, beta-lactalbumin และ serum albumin ซึ่งล้วนแต่เป็นโมเลกุลที่ถูกทำลายได้ง่ายด้วยความร้อนหรือการปั่นกวนที่ รุนแรง นอกจากนี้การฆ่าเชื้อแบบพาสเจอร์ไรซ์ที่ใช้ความร้อนสูงและกระบวนการอื่นๆที่ ใช้ในอุตสาหกรรม ล้วนทำลายคุณค่าทางชีวภาพของผลิตภัณฑ์ก่อนที่จะถึงมือผู้บริโภค
เพื่อรักษาคุณสมบัติทางชีวภาพของโปรตีนที่เป็นสารตั้งต้นในการสร้างกลูต่าไธ โอนไว้อย่างครบถ้วน เวย์โปรตีนจำเป็นต้องถูกสกัดจากน้ำนมอย่างระมัดระวัง ด้วยกระบวนการผลิตพิเศษที่ต้องมีมาตราการควบคุมอย่างใกล้ชิด เวยโปรตีนที่ขายกันในท้องตลาดมีปริมาณของโปรตีนในระดับที่แตกต่างกันระหว่าง 20-90% นอกจากนี้ยังแตกต่างกันในด้านส่วนประกอบ รวมถึงระดับการเสื่อมสภาพทางชีวภาพของโปรตีนที่เป็นสารตั้งต้นของกลูตาไธโอน เวย์โปรตีนส่วนใหญ่ที่เน้นขายให้นักกีฬาเพาะกล้ามมักขาดคุณสมบัติทางชีวภาพ นี้
เวย์โปรตีนที่คงคุณค่าทางชีวภาพ (Bioactive whey protein)
เวย์โปรตีนที่คงคุณค่าทางชีวภาพ ประกอบไปด้วยโปรตีนย่อยที่ยังคงโครงสร้างดั้งเดิมของโปรตีน (non-denature) ไว้ในระดับสูง จึงมีคุณสมบัติในการส่งเสริมการผลิตกลูตาไธโอนให้กับร่างกาย ความรู้ส่วนใหญ่ที่เกี่ยวกับคุณสมบัติของเวย์โปรตีนในการเพิ่มระดับกลูตาไธ โอน เป็นผลงานวิจัยของ Dr. Gustavo Bounous ที่เริ่มต้นขึ้นในช่วงปี 1980 ณ มหาวิทยาลัย McGill มอนทรีออล ประเทศแคนนาดา Dr. Gustavo Bounous ได้ค้นพบคุณสมบัติทางชีวภาพที่มีคุณค่ายิ่งของเวย์โปรตีน ขณะที่กำลัังทำการศึกษาเกี่ยวกับการใช้โปรตีนในรูปแบบของอาหารเสริม และได้ทำการวิจัยค้นคว้าถึงผลของการใช้เวย์โปรตีนที่คงคุณค่าชีวภาพในการ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน จนได้ตีพิมพ์ผลงานที่เป็นที่กล่าวขานในวงการวิทยาศาสตร์และโภชนาการ ผลงานดังกล่าวได้นำไปสู่การสนับสนุนการทำวิจัยการเพิ่มระดับกลูตาไธโอนในผู้ ป่วยโรคต่างๆ โดยนักวิจัยหลายทีม และในที่สุดได้นำไปสู่การผลิตสินค้าที่ชื่อ Immunocal ในสหรัฐอเมริกา หรือ HMS 90 ในแคนนาดา เวย์โปรตีนที่ผลิตขึ้นด้วยมาตราฐานเภสัชภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติทางชีวภาพระดับ สูง
กลูตาไธโอนกับสุขภาพและการเกิดโรค
นัก วิทยาศาสตร์ต่างเชื่อกันว่ากลูตาไธโอนเป็นสารที่มีศักยภาพที่สำคัญในการ บำบัดและป้องกันโรคต่างๆ มากมายหลายร้อยชนิด ในอนาคตอันใกล้กลูตาไธโอนอาจถูกพิจารณาให้เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญต่อ สุขภาพ เช่นเดียวกับการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน การออกกำลังกายและพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่มีสุขภาพ ผลจากการศึกษาทางคลีนิกบ่งชี้ว่าระดับกลูตาไธโอนที่สูงขึ้นอาจมีผลต่อการ ป้องกันและควบคุมโรคเรื้อรังและร้ายแรงที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่ของสุขภาพคนเรา ในขณะนี้ ได้แก่ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดในสมอง โรคเบาหวาน ภาวะคลอเรสเตอรอลสูง โรคหืดหอบ การสูบบุหรี่ โรคไวรัสตับอักเสบ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง(เอดส์) และโรคอื่นๆอีกมากมาย เนื้่องจากกลูตาไธโอนสามารถช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับภัยคุกคามจากโรคต่างๆได้ ตามธรรมชาติ
คนที่มีสุขภาพแข็งแรงก็สามารถได้รับประโยชน์จากการมีระดับกลูตาไธโอนที่สูง ขึ้นได้ จากความสามารถที่สูงขึ้นในการต่อต้านสารพิษ โรคติดต่อ เซลที่อาจกลายเป็นมะเร็ง และการเสื่อมจากอายุ การลดลงของระดับกลูตาไธโอน เป็นผลพวงของการมีอายุสูงขึ้น และพบได้ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน และโรคอัลไซมเมอร์
กลูตาไธโอนยังไม่ความสำคัญต่อคนที่ต้องใช้พลังงานมาก นักกีฬาระดับโลกหลายคนตระหนักดีว่าการรักษาระดับกลูตาไธโอนให้สูงไว้ จะทำให้มีความได้เปรียบเหนือคู่แข็ง โดยจะส่งผลให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงและออกกำลังได้ยายนานยิ่งขึ้น ลดระยะเวลาในการรักษาตัวจากการบาดเจ็บ ลดอาการเจ็บปวดของกล้ามเนื้อและอาการเหนื่อยล้า ตลอดจนช่วยส่งเสริมขบวนการสร้างกล้ามเนื้อ
สรุป
- ทุกวันนี้ วิทยาศาสตร์การแพทย์ยังดำเนินการวิจัยและมีการค้นพบบทบาทใหม่ๆ ที่สำคัญของกลูตาไธโอนอย่งต่อเนื่องในการต้านทานโรค และการมีสุขภาพที่แข็งแรง หลักฐานทางคลีนิกพบว่าระดับกลูตาไธโอนที่ต่ำมีความสัมพันธ์กับการเป็นโรค เรื้อรังต่างๆ ที่กำลังเป็นปัญหาในปัจจุบันตลอดจนโรคใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น
- กลูตาไธโอนมีคุณสมบัติในการพิทักษ์สุขภาพ โดยทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญของร่างกาย (Antioxidant) ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ (Immune System Booster) และกำจัดสารพิษรวมทั้งสารก่อมะเร็งนานาชนิดออกจากร่างกาย (Detoxifier) แต่การรับประทานกลูตาไธโอนในรูปอาหารเสริมจะไม่ช่วยให้ร่างกายมีระดับกลูตา ไธโอนที่สูงขึ้น เนื่องจากจะไม่สามารดูดซึมผ่านระบบทางเดินอาหารได้ดีพอ วิธีที่ดีที่สุดคือการมอบสารประกอบให้ร่างกายนำไปสร้างกลูตาไธโอนขึ้นเองภาย ในเซล
- วงการเภสัชได้ทำการผลิตสารตัวยาเพื่อใช้เพิ่มระดับกลูตาไธโอนภายในร่าง กายอย่างได้ผล และมีคุณประโยชน์ ในการรักษาคนไข้กรณีฉุกเฉิน แต่เนื่องจากผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น จึงไม่เหมาะที่จะนำไปใช้ต่อเนื่องระยะยาว และเมื่อไม่นานมานี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบวิธีธรรมชาติในการเพิ่มระดับกลูตาไธโอนในรูปของอาหาร เสริมที่ปลอดภัย และมีการพิสูจน์ประสิทธิภาพที่เชื่อถือได้ การค้นพบคุณสมบัติพิเศษของเวย์โปรตีน ที่อุดมคุณค่าทางชีวภาพนี้ นับเป็นก้าวสำคัญของวิวัฒนาการของวงการโภชนาการบำบัด
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก
บริษัท อิมมูโนไทย จำกัด ด้วยนะครับ
|
|
|