วันที่: 2010-08-17 13:52:40.0
ผมได้มีโอกาสได้รับความรู้จากท่านอาจารย์ นายแพทย์ ทองปลิว เปรมปรี ผู้เชี่ยวชาญมือหนึ่งของประเทศไทยในการรักษามะเร็งด้วยวิธียีนบำบัด (Gene Therapy) ซึ่งท่านอาจารย์ได้ให้เกียรติเป็นที่ปรึกษาสำหรับคนไข้หลายคนของผมด้วย กราบขอบพระคุณอาจารย์ไว้ด้วยนะครับ
วันนี้ผมเลยขอเอาความรู้เรื่องยีน ในการตรวจหาโรคมะเร็งมาแบ่งปันทุกคนด้วยนะครับ
การตรวจหายีน โรคมะเร็ง
สาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคมะเร็ง
อวัยวะต่างๆ ในร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วยเซลล์เป็นจำนวนมาก ในเซลล์ประกอบด้วยยีนมากกว่า 30,000 ตัว ซึ่งยีนแต่ละตัวมีหน้าที่ที่แตกต่างกัน เมื่อใดก็ตามที่ยีนนั้นมีลักษณะที่แตกต่างไปจากที่ควรจะเป็ฯ จะทให้ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ หรือร่างกายไม่สามารถควบคุมการทำงานที่ผิดปกติไปของยีนนั้นๆ จะก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ ตัวอย่างของยีนในร่างกายที่มีการกลายพันธุ์หรือมีความบกพร่องในการทำงานจนทำให้เกิดโรคมะเร็งต่างๆ ได้ เช่น EGFR gene (Epidermal Growth Factor Receptor), HER2 gene (Human Epidermal Growth Factor Receptor 2), cKIT gene เป็นต้น
ความสำคัญของการตรวจยีนในโรคมะเร็ง
โรคมะเร็งแต่ละชนิดมียีนที่มีความผิดปกติแตกต่างกัน ถึงแม้ว่าจะเป็นมะเร็งชนิดเดียวกัน ซึ่งความผิดปกติของยีนที่แตกต่างกันนี้ ทำให้ผู้ป่วยแต่ละคนมีการตอบสนองต่อการรักษาที่แตกต่างกันไป ดังนั้นถ้าหากเราสามารถตรวจหาความผิดปกติของยีนในเซลล์มะเร็งของผู้ป่วยก่อนการรักษาได้ จะทำให้ราสามารถทราบข้อมูลของยีนที่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็ง และยังจะมีส่วนช่วยในการวางแผนการรักษาด้วยการใช้ยาในกลุ่มของ Target Therapy ซึ่งเป็นยาที่มีความจำเพาะเจาะจงกับยีนที่มีความผิดปกติและมีราคาแพงมาก ดังนั้นการตรวจยีนจะทำให้การรักษาตรงเป้าหมายมากขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การตรวจหาความผิดปกติของยีนในโรคมะเร็ง
ในปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้ในการตรวจหายีนที่มีความผิดปกติในเซลล์มะเร็งชนิดต่างๆ ได้หลายชนิด โดยทั้งๆ ไปแล้วจะใช้เทคโนโลยีในการตรวจอยู่ 2 วิธีคือ
1. Immunohistochemical Study เป็นการตรวจหาโปรตีนที่ยีนนั้นๆ ผลิตออกมา ถ้ายีนใดมีความผิดปกติ ยีนนั้นจะสร้างโปรตีนมากกว่าปกติ เรียกว่า Over expression
2. Molecularbiological Study เป็นการศึกษาในระดับของ DNA ของเซลล์มะเร็ง ทำให้ทราบถึงลักษณะของความผิดปกติของยีนนั้นๆ เช่น Mutation site หรือ Point of mutation ซึ่งจะทำให้ทราบถึงประสิทธิภาพและการตอบสนองต่อการรัีกษาได้อีกด้วย
Gene |
พบในโรคมะเร็ง |
EGFR |
มะเร็งปอด, มะเร็งที่ศีรษะและลำคอ |
HER2 | มะเร็งเต้านม |
cKIT | GIST, Sarcoma |
BRCA1 | มะเร็งเต้านม |
p53 | มะเร็งเต้านม |
VEGF | มะเร็งลำไส้ใหญ่, Sarcoma, มะเร็งปอด, มะเร็งตับอ่อน |
BRAF | Sarcoma, Malignant Melanoma |
APC | มะเร็งลำไส้ใหญ่ |
ฉะนั้นก่อนที่ เราจะทำการรักษาโรคมะเร็งนั้นเราควรศึกษาและตรวจโรคให้รู้แน่ชัดก่อนและโดย เร็วที่สุด เพื่อใช้ในการวางแผนการรักษาโรคมะเร็งให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด (โรงพยาบาลทุกโรงพยาบาลสามารถทำการตรวจยีนให้ท่านได้ครับ ถ้าต้องการปรึกษาติดต่อเราได้ครับยินดีให้ข้อมูลครับผม)
|
|
|