Support
4life Immunity
0816516654
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ
จำนวนครั้งที่เปิดดูสินค้า : 46184 | ความคิดเห็น: 0

พระผงรูปเหมือนหลวงปู่ไข่ วัดบพิตรพิมุข กรุงเทพฯ รุ่นบูรณะพลับพลา ร.5 ปี 2539

 เพิ่มเมื่อ: 2012-04-16 16:01:26.0
 แก้ไขล่าสุด: 2016-01-28 21:32:17.0
 เบอร์โทรติดต่อ: 0816516654
 อีเมลล์: meteekit@yahoo.co.th

รายละเอียด:
พระผงรูปเหมือนหลวงปู่ไข่ วัดบพิตรพิมุข กรุงเทพฯ รุ่นบูรณะพลับพลา ร.5 ปี 2539
250.00 บาท

 สินค้าที่เกี่ยวข้อง

จันทร์ลอยรูปเหมือนหลวงปู่สด รุ่นแรก ปี2530 วัดหลวงพ่อสด สวยเดิมๆ พระบูชา พระศรีอริยเมตไตรย์โพธิ์สัตว์ หนี่เต็กฮุก วัดมังกรกมลาวาส เนื้อโลหะกะหลั่ยนาค หน้าตัก 3 นิ้ว พระผงพระพุทธไตรรัตนนายก หลวงพ่อโต ซำปอกง วัดกัลยาณมิตร ปี 2550 ยันต์จีน พระผงหลวงพ่อโยก วัดจันทรังษี ปี2514 เสกพร้อมปากน้ำรุ่น4 (ผสมผงหลวงพ่อ สด วัดปากน้ำ) 6 เหรียญหลวงพ่อหมอ ที่ระลึกงานผูกพัทธสีมา วัดเหนือใต้ อ.สรรคบุรี ชัยนาท ปี 2548 บูชา 150 บาท

พระผงรูปเหมือนหลวงปู่ไข่ วัดบพิตรพิมุข กรุงเทพฯ รุ่นบูรณะพลับพลา ร.5 ปี 2539


บูชาองค์ละ 250 บาท


พระผงรูปเหมือนหลวงปู่ไข่ วัดบพิตรพิมุข กรุงเทพฯ รุ่นบูรณะพลับพลา ร.5 ปี 2539

มวลสารผงพระพุทธคุณ ของหลวงปู่ไข่ และผงวิเศษที่ได้ทำการรวบรวมมาเป็นเวลานานหลายปี นำมาจัดสร้างพระผงรุ่นนี้

อธิษฐานจิตโดย พระคณาจารย์จำนวนมาก จัดสร้างถูกต้องตามแบบโบราณ

ประสบการณ์มากมาย ทั้งเมตตา มหานิยม แคล้วคลาด ทั้งขอโชค ขอลาภ ธุรกิจการค้ามากมาย

มีลูกศิษย์ที่เคารพนับถือ หลวงปู่ไข่ ขอพึ่งบารมีทำการค้าขาย ร่ำรวยมาแล้วมากราย เช่น คุณสมคิด ตั้งธนชัย ผู้ที่เป็นเจ้าภาพจัดพิมพ์ ปฏิทินรูปเหมือนหลวงปู่ไข่ ขนาดเท่าองค์จริง แจกจริงๆเป็นเวลาเกือบ 10 ปี ก็ประสบความสำเร็จจากการยึดถือบารมีของหลวงปู่ไข่ และทำการค้าโดยสุจริต ทำให้ดำเนินธุรกิจ ก้าวหน้า ร่ำรวยเป็นเศรษฐีผู้ใจบุญ หนึ่งเดียว และไม่เปิดเผยตัวอีกด้วยครับ

ประวัติ หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน (วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร)
อินฺทสโรภิกฺขุ (ไข่) หรือที่รู้จักกันดีในหมู่นักสะสมพระเครื่องว่า หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน เป็นชาวแปดริ้ว บ้านเกิดอยู่บริเวณ ประตูน้ำท่าไข่ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทราในปัจจุบัน หลวงปู่เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2402 ตรงกับขึ้น5 ค่ำ เดือน 7 ปีมะแม เป็นบุตรของนายกล่อม นางบัว จันทร์สัมฤทธิ์ มีพี่น้องกี่คนไม่ปรากฏ
ขณะที่ท่าน อายุ 6 ขวบ(ประมาณ พ.ศ. 2408) บิดาได้นำไปฝากเป็นศิษย์หลวงพ่อปาน วัดโสธร คือวัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทราในปัจจุบัน เพื่อให้เรียนหนังสือ ต่อมาจึงได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อได้บรรพชาแล้วก็ได้หัดเทศน์มหาชาติและ เทศน์ประชัน
กล่าวกันว่าหลวงพ่อปู่ไข่ มีความสามารถในการเทศน์มหาชาติกัณฑ์กุมารและกัณฑ์มัทรีได้ไพเราะกังวานจับใจ ผู้ฟังยิ่งนักแม้ภายหลังเมื่อชราแล้ว ศิษย์ผู้อยู่ใกล้ชิดก็มักจะได้ยินหลวงปู่ทบทวนการเทศน์มหาชาติ ทั้ง 2 กัณฑ์ ในตอนกลางคืนอยู่เสมอๆ
ครั้นเมื่อหลวงพ่อปาน วัดโสธร มรณภาพแล้ว หลวงปู่ไข่ ได้ไปอยู่กับพระอาจารย์จวง วัดน้อย ซึ่งปัจจุบันอยู่ในอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี จนกระทั่งพระอาจารย์จวงมรณภาพ ขณะนั้นหลวงปู่ไข่ มีอายุได้ 15 ปี (ประมาณ พ.ศ.2417)
ตามประวัติกล่าวว่าหลวงปู่ไข่ ได้เดินทางมากรุงเทพฯ ไปอยู่กับพระอาจารย์รูปหนึ่ง (ไม่ปรากฏนาม) ที่วัดหงส์รัตนาราม อำเภอบางกอกใหญ่ ฝั่งธนบุรี เพื่อเรียนพระปริยัติธรรม อีก 3 ปีต่อมา (ประมาณ พ.ศ.2420) หลวงปู่ไข่ ได้เดินทางไปอยู่กับพระอาจารย์เอี่ยม วัดลัดด่าน ซึ่งอยู่ที่แม่กลอง จังหวัดสมุทรสาคร และได้เล่าเรียนปริยัติธรรมและพระวินัยจนอายุครบบวช (ประมาณ พ.ศ.2422) จึงได้อุปสมบทที่วัดนี้ โดยมี
พระอาจารย์เนตร วัดบ้านแหลม เมืองสมุทรสงคราม เป็นพระอุปัชฌาย์
พระอาจารย์เอี่ยม วัดลัดด่าน เมืองสมุทรสงคราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระอาจารย์ภู่ วัดบางกะพ้อม เมืองสมุทรสงคราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์
อุปสมบท แล้วได้เดินทางไปเรียนพระกรรมฐานกับพระอาจารย์รูปหนึ่ง (ไม่ปรากฏนาม) ซึ่งอยู่ที่เชิงเขา แขวงเมืองกาญจนบุรี เรียนอยู่ระยะหนึ่งจึ่งกลับมาอยู่วัดลัดด่านตามเดิม
ต่อมาหลวงปู่ไข่ ได้ออกธุดงค์ไปตามสำนักพระอาจารย์ต่างๆ ซึ่งอยู่ที่อำเภอโพธาราม เมืองราชบุรี และเมืองกาญจนบุรี จากนั้นได้กลับมาอยู่ที่วัดลัดด่านอีกระยะหนึ่ง จึงได้ออกธุดงค์ไปเรียนวิปัสสนากรรมฐานกับพระอาจารย์ในถ้ำที่เมืองกาญจนบุรี เป็นเวลาประมาณ 6 ปี (ราว พ.ศ. 2423 - 2429)
ตามประวัติกล่าวถึงเหตุการณ์ตอนนี้ว่า "ท่านเล่าว่า ระหว่างอยู่ในถ้ำนั้น ตกกลางคืนจะมีสิงห์สาราสัตย์ต่างๆ เข้ามานอนล้อมกอด พอเช้ามืดต่างคนต่างออกไปหากิน ส่วนท่านก็จะออกบิณฑบาตเป็นกิจวัตรประจำวัน (ท่านฉันหนเดียว)
เมื่อท่านศึกษาอยู่ในถ้ำนั้นเป็นเวลานานพอสมควร เห็นว่าจะช่วยเหลือโลกได้บ้างแล้ว ท่านก็เดินธุดงค์ออกจากถ้ำไปในที่ต่าง ๆ โดยไม่ยอมขึ้นรถลงเรือ และไม่มีจุดหมายปลายทาง สุดแต่มืดที่ไหนก็กางกลดนอนที่นั่น เช้าก็ออกเดินธุดงค์ต่อไป
ในระหว่างทางมีราษฎรมาขอความช่วยเหลือไม่ว่าจะเป็นเรื่องใด เรื่องตกทุกข์ได้ยาก หรือเจ็บไข้ได้ป่วยหรือเป็นบ้าเสียจริต ท่านมีจิตเมตตาช่วยรักษาให้ตามที่อธิษฐานทุกคน" หลวงปู่ไข่ เดินธุดงค์อยู่ราว ๑๕ ปี (ประมาณ พ.ศ.๒๔๒๙ - พ.ศ.๒๔๔๔) เกียรติคุณของหลวงปู่ไข่ ได้เลื่องลือเข้ามาถึงกรุงเทพฯ
จึงมีผู้นิมนต์มาอยู่ที่วัดบางยี่เรือ ฝั่งธนบุรี เป็นเวลา ๑ ปี จากนั้นหลวงปู่ไข่ ก็ออกธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรอีกหลายปี ในที่สุดหลวงปู่ไข่ ก็เดินทางเข้ามากรุงเทพฯ อีกครั้งหนึ่ง เข้าใจว่าคงราว ๆ พ.ศ.๒๔๕๕ -พ.ศ.๒๔๖๑
การเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ครั้งนี้ หลวงปู่ไข่ ได้เลือกจำพรรษาอยู่ที่วัดเชิงเลน หรือวัดบพิตรพิมุขวรวิหาร ทั้งนี้เพราะที่วัดบพิตรพิมุขมีพระภิกษุน้อย และมีคณะกุฏิ ซึ่งใช้เป็นที่เก็บศพ และบางครั้งก็มีชาวบ้านเข้ามาใช้เป็นที่ถ่ายอุจจาระด้วย ดังนั้นคณะกุฏินี้จึงเป็นสถานที่เงียบสงบ ไม่มีใครมารบกวนมากนัก หลวงปู่ไข่จึงเข้ามาอยู่ที่คณะกุฏิในป่าช้าของวัดบพิตรพิมุข สมัยนั้นพระภิกษุรูปใดจะเข้ามาอยู่วัดก็ได้โดยเสรี ไม่ต้องมีบัตรและไม่มีใครตรวจตรา ไม่ต้องขออนุญาต เพียงแต่ถึงคราวเข้าปุริมพรรษา ก็บอกกล่าวเจ้าอาวาสให้รับทราบ เพื่อจะได้จำพรรษาที่วัดนั้น และเมื่อหลวงปู่ไข่ มาอยู่ที่วัดบพิตรพิมุขนั้น พระกวีวงศ์ (กระแจะ วสุตตโม ป.ธ.๔) เป็นเจ้าอาวาส
ในระหว่างที่หลวงปู่ไข่ จำพรรษาอยู่ ณ วัดบพิตรมุข หลวงปู่ไข่ ได้ปฏิบัติทางธรรมและสร้างการกุศลหลายประการ ได้แก่ สอนพระกรรมฐานแก่บรรพชิตและฆราวาส ช่วยอนุเคราะห์แก่ผู้เจ็บไข้ได้ทุกข์ บริจาคทรัพย์ส่วนตัวและชักชวนบรรดาศิษย์และผู้ที่คุ้นเคยให้มาร่วมการทำบุญ เช่น สร้างพระพุทธปฏิมา ซ่อมพระพุทธรูปของเก่าที่ชำรุดหักพังให้ดีขึ้น สร้างพระไตรปิฎก โดยหลวงปู่ไข่ ลงมือจารใบลานด้วยตนเองบ้าง ให้ช่างจารขึ้นบ้าง ซ่อมแซมกุฏิที่ชำรุดทรุดโทรมให้ดีขึ้น สร้างกุฏิเป็นห้องแถวไม้ขึ้นอีกหลายกุฏิ ทั้งได้สร้างถนน สระน้ำ ถังรับน้ำฝน ขึ้นภายในบริเวณวัด สร้างแท่นสำหรับนั่งพักภายในคณะกุฏิให้เป็นที่สะดวกแก่พระภิกษุสามเณรที่ อาศัยอยู่ในคณะนั้น เป็นต้น นอกจากนี้ยังปรากฏว่า เมื่อครั้งหลวงปู่ไข่ จำพรรษาอยู่ตามหัวเมือง ก็ได้สร้างและปฏิสังขรณ์วัดต่าง ๆ มาแล้วหลายแห่ง
หลวงปู่ไข่ เป็นผู้ที่ตั้งมั่นอยู่ในคูณพระรัตนตรัย มีจิตสุขุมเยือกเย็นประกอบด้วยเมตตากรุณา มีจริยาวัตรอัธยาศัยเรียบร้อย เคร่งครัดในทางสัมมาปฏิบัติ เป็นที่เคารพนับถือแก่บรรดาศิษย์และผู้ที่รู้จักคุ้นเคยทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดเป็นอันมาก หลวงปู่ไข่เป็นพระที่สมณะใฝ่สันโดษ เจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นนิตย์ไม่ยุ่งเกี่ยวกับใคร บรรดาศิษย์ของหลวงปู่ไข่ได้ป่วยก็มาหา หลวงปู่ไข่ก็จะแนะนำให้ไปซื้อยามาเสกให้กิน เมื่อมีเวลาว่างหลวงปู่ไข่ก็จะสร้างพระ ตะกรุด ธง และเหรียญออกแจกจ่ายแก่บรรดาศิษย์
ราว พ.ศ. ๒๔๗๐ หลวงปู่ไข่ เตรียมบาตร กลด และย่ามเพื่อจะออกธุดงค์ แต่บรรดาศิษย์ทั้งที่เป็นข้าราชการ พ่อค้า ได้ปรึกษาหารือกันว่าหลวงปู่ไข่ ชราภาพมากแล้ว หากออกธุดงค์คราวนี้ไซร้คงจะไม่ได้กลับมาแน่ จึงได้นิมนต์ยับยั้งไว้ โดยขอให้หลวงปู่ไข่ อยู่วิปัสสนากรรมฐานแก่บรรดาศิษย์ต่อไป
หลวงปู่ไข่ เริ่มอาพาธด้วยโรคชราตั้งแต่วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ.๒๔๗๕ ครั้นวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ.๒๔๗๕ เวลา ๑๓.๒๕ น. ก็ถึงแก่มรณภาพ ก่อนเวลาที่จะมรณภาพ หลวงปู่ไข่ ได้ข่มความทุกข์เวทนาอยู่ในเวลานั้น ให้หายไปได้ ประดุจบุคคลที่ไม่มีอาการเจ็บป่วยใด ๆ แล้วขอให้ศิษย์ที่พยาบาลอยู่ ประคองตัวให้ลุกขึ้นนั่ง และให้จุดธูปเทียนบูชาพระ เมื่อกระทำนมัสการบูชาพระเสร็จแล้วก็เจริญสมาธิสงบระงับจิต เงียบเป็นปกติอยู่ประมาณ ๑๕ นาที ก็หมดลมปราณ ถึงวาระสุดท้ายศิษย์ผู้คอยเฝ้าพยาบาลอยู่ จึงประคองตัวหลวงปู่ไข่ ให้นอนลง รวมอายุได้ ๗๔ ปี พรรษา ๕๔ พรรษา
ตามปรกติที่วัดบพิตรพิมุข ไม่มีที่ประชุมเพลิงศพโดยเฉพาะ ด้วยเหตุนี้คณะสงฆ์เห็นว่าหลวงปู่ไข่ เป็นพระเก่าแก่ของวัด และมีผู้เคารพนับถือมาก จึงขออนุญาตเป็นกรณีพิเศษเพื่อทำการประชุมเพลิงศพหลวงปู่ไข่ ที่บริเวณกุฏิ กำหนดประชุมเพลิงในวันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ.๒๔๗๖ เวลา ๑๗.๐๐ น. (คือประมาณ ๑๐๐ วันหลังจากมรณภาพ สมัยนั้น วันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ ๑ เมษายน)
ในวันประชุมเพลิงศพ มีคนมาร่วมงานมากมาย ถึงกับล้นออกไปตามตรอกซอยและถนน พอถึงเวลาเคลื่อนศพเพื่อนำไปขึ้นเชิงตะกอน ทันใดนั้นเอง แผ่นดินบริเวณคณะได้เกิดไหวขึ้น คนตกใจถึงกับออกปากว่า อภินิหารของหลวงปู่ไข่ มีมากเหลือเกิน
เมื่อประชุมเพลิง แล้วสัปเหร่อได้จัดการแปรธาตุเก็บอัฐิ บรรดาศิษย์เข้าขออัฐิของหลวงปู่ไข่ ไปไว้บูชาเป็นจำนวนมาก

guest
ชื่อ
Email
เบอร์โทรศัพท์