Support
4life Immunity
0816516654
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ
จำนวนครั้งที่เปิดดูสินค้า : 45072 | ความคิดเห็น: 1

พระสมเด็จ หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง รุ่นสร้างสะพานอินทร์บุรี ปี 2535 ฝังตะกรุด ทองคำ เงิน ทองแดง

 เพิ่มเมื่อ: 2014-02-28 16:04:52.0
 แก้ไขล่าสุด: 2016-10-23 13:20:26.0
 เบอร์โทรติดต่อ: 0816516654
 อีเมลล์: meteekit@yahoo.co.th

รายละเอียด:
พระสมเด็จ หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง รุ่นสร้างสะพานอินทร์บุรี ปี 2535 ฝังตะกรุด ทองคำ เงิน ทองแดง
950.00 บาท

 สินค้าที่เกี่ยวข้อง

พระผงพุทธคุณแก่ว่าน พระร่วงโรจนฤทธิ์ วัดพระปฐมเจดีย์ ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม ฉลองกรุงรัตนโกส เหรียญภูเขาทอง วัดสระเกศ เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง ไม่ทราบปีสร้าง (1) พระผงรูปเหมือน หลวงปู่รอด วัดนายโรง บางบำหรุ กรุงเทพฯ หลังเบี้ยแก้ เจ้าตำหรับเบี้ยแก้ ที่แพงที่สุดใน พระ พิมพ์นางพญา หลวงพ่อ พ่วง วัดกก บางขุนเทียน เนื้อดินเผา สวยไม่ผ่านการบูชา พิมพ์หายากมากสร้างน้อย พระผงรูปเหมือนสมเด็จฯโต พรหมรังสี วัดประสาทฯ ปี2505 เนื้อพระสมเด็จบางขุนพรหม ลงกรุ(2)

พระสมเด็จ หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง รุ่นสร้างสะพานอินทร์บุรี ปี 2535 ฝังตะกรุด ทองคำ เงิน ทองแดง

 

บูชาองค์ละ 950 บาท

___________________________________________________

 

ชีวประวัติ

หลวงพ่อแพ กำเนิดใน วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2448 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือนยี่ ปี มะเส็ง ณ ต.สวนกล้วย อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี บิดาของหลวงพ่อชื่อ นายเทียน มารดาชื่อ นางหน่าย ใจมั่นคง มีพี่น้อง ร่วมสายโลหิต 4 คน หลวงพ่อเป็นคนสุดท้อง แต่เมื่อท่านได้อายุ 8 เดือน มารดาก็เสียชีวิต หลังจากที่มารดา ท่านจากไปแล้ว นายบุญ ขำวิบูลย์ ผู้เป็นอา และ นางเพียร ภรรยา จึงได้ได้ขอหลวงพ่อมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม

การศึกษา

เมื่อท่านอายุได้ 11 ปี พ่อแม่บุญธรรม ได้นำท่านไปฝาก กับ สมภารพันธ์ เจ้าอาวาส วัดพิกุลทอง ท่านได้ศึกษาจนพอรู้หนังสือบ้าง ประมาณ 3 เดือน สมภารจึง ให้พระอาจารย์ ป้อม จันทสุวัณโณ ซึ่งเป้นพระลูกวัดใ ที่มีความรู้ทางภาษาไทยและ ขอมอย่างแตกฉาน ทำให้หลวงพ่อมีความเชี่ยวชาญ รอบรู้ ทางด้าน ภาษา คัมภีร์พระธรรม พระสูตร พระมาลัย และเขียนจารึกอักษรขอมได้อย่างงดงาม

ปี พ.ศ.2461 เพื่อนของบิดาบุญธรรมของท่าน มีความประสงค์ ให้ส่งหลวงพ่อมาเรียนต่อที่กรุงเทพฯ เพื่อ มาศึกษา ต่อ และ มาอยู่เป็นเพื่อนกับลูกชายของตนที่วัดชนะสงคราม บิดามารดาของหลวงพ่อจึงได้บอกกล่าวความให้ท่านทราบ ท่านจึงรับปากว่าจะไปเรียนต่อตามความประสงค์ เมื่อมาอยู่วัดชนะสงคราม หลวงพ่อจึงได้เรียน สูตรสนธิ (อัตโถ อักขระสัญญโต ฯ) กับพระอาจารย์สม อยู่ 1 ปี ต่อมาท่านเห็นว่าบาลีไวยากรณ์ง่ายกว่า จึงได้เปลี่ยนไปเรียน บาลีฯ ที่วัดมหาธาตุฯ

ต่อมาปี พ.ศ. 2463 ท่านมีอายุได้ 16 ปี ได้เดินทางกลับ จ.สิงห์บุรี เพื่อเยี่ยม บิดาผู้ให้กำเนิดและบิดามารดาบุญธรรม ๆของท่านเห็นว่าท่านโตแล้ว จึงได้ร่วมบรรพชาเป็นสามเณร ในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2463 โดยมี พระอธิการพันธ์ เจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากนั้น ท่านก็เดินทางกลับมายังวัดชนะสงคราม อยู่กับ พระอาจารย์เทศ คณะ10 ต่อมาไม่นานทางบ้านก็ส่งข่าวมาบอกว่า โยมเทียน บิดาผู้ให้กำเนิดถึงแก่กรรม จึงเดินทางกลับไปสิงห์บุรี เพื่อ จัดการศพบิดา แล้วกลับมา อยู่ที่คณะ 10 เช่นเดิม

ปี พ.ศ.2466 หลวงพ่อสอบนักธรรมตรีได้ (ในสมัยนั้นผู้เข้าสอบ ต้องอายุ 19 ปีจึงจะมีสิทธิ์ เข้าสอบได้)

ปี พ.ศ.2468 สามารถสอบเปรียญธรรม 3 ประโยค ได้ตั้งแต่เป็นสามเณร นับว่าได้นำเกียรติมาสู่วัดชนะสงคราม เป็นอย่างมาก จากนั้นหลวงพ่อได้ไปเล่าเรียนที่ วัดมหาธาตุฯ โดยเป็นศิษย์ ของเจ้าพระคุณสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี)

ปี พ.ศ. 2469 ท่านอายุ ได้ 21 ปี จึงอุปสมบท อย่างสมเกียรติสามเณรเปรียญ ซึ่งในสมันนั้น หาได้ไม่มากนัก เมื่อวันที่ 21 เมษายน ณ พระอุโบสถวัดพิกุลทอง โดยมี พระมงคลทิพย์มุนี วัดจักรวรรดิ์ราชาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสิทธิเดช วัดชนะสงคราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการอ่อน วัดจำปาทอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ซึ่งภายหลังอุปสมบทแล้วหลวงพ่อได้กลับมาอยู่วัดชนะสงครามตามเดิม และในปีเดียวกันหลวงพ่อนักธรรมชั้นโทได้

ปี พ.ศ. 2470 หลวงพ่อสอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยคได้ แต่หลังจากนี้ไม่นานหลวงพ่อ ก็จำเป็น ต้องหยุดศึกษา เนื่องด้วยปัญหาทางด้านสายตาเนื่องจาก จะเห็นได้ว่า ท่านได้มีวิริยะ อุตสาหะในการศึกษาตั้งแต่เด็ก โดยถือว่าการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญต่อปฏิบัติธรรมให้ได้ถูกต้อง ทำให้หลวงพ่อคร่ำเคร่ง ในการอ่านหนังสือ ในที่แสงสว่างไม่เพียงพอ

เพราะในสมัยนั้นไฟฟ้ายังไม่มีใช้ จำเป็นต้องใช้แสงสว่างจากเทียน หรือตะเกียง นัยน์ตา ซึ่งได้ตรากตรำจากการดูหนังสือมากเกินไป เกิดอาการตาอักเสบแดง ปวดแสบ นายแพทย์โรงพยาบาลจุฬาฯ จึงแนะนำให้ท่านหยุด ใช้สายตา มิฉะนั้นนัยน์ตาอาจจะพิการ จึงเป็นที่เสียดายเป็นอย่างยิ่งของท่านเพราะหลวงพ่อ ตั้งใจไวมุ่งมั่นในการศึกษามาก ระหว่าง ปี พ.ศ.2471-2472 ได้รับหน้าที่เป็นครูสอนบาลี โดยสอนตามคณะต่างๆ ของวัดชนะสงคราม รับเป็นเจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง

ปี พ.ศ. 2474 เจ้าอาวาส วัดพิกุลทอง ได้ลาสิกขาบท ทำตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลง ชาวบ้านพิกุลทองและจำปาทองได้ร่วมกันปรึกษา ที่จะขอให้ท่านมารับเป็นเจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง ขณะนั้นหลวงพ่อได้เดินทางกลับมาเยี่ยมบิดาและญาติพี่น้อง ซึ่งท่านได้พักที่วัดพิกุลทอง ท่านจึงเห็นว่า เป็นวัดพิกุลทองบ้านเกิดเมืองนอน ตอนนี้ เสนาสนะชำรุดทรุดโทรมมาก โดยเฉพาะพระอุโบสถซึ่งสร้างมา ตั้งแต่ พ.ศ.2440

และขณะนั้นท่านได้หยุดพักรักษานัยน์ตา ประสงค์จะพักผ่อนหาความสงบ คิดว่าเมื่อตาหายดีแล้ว ก็จะศึกษาบาลีลันักธรรมต่อตามความตั้งใจเดิม จึงรับปากว่าจะมาอยู่วัดพิกุลทอง ในระหว่างที่ยังว่างเจ้าอาวาสอยู่ปี พ.ศ. 2482 คณะสงฆ์แต่งตั้งให้ท่านดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะตำบลถอนสมอ และในปีเดียวกันหลวงพ่อพิจารณาเห็นว่าพระอุโบสถชำรุดทรุดโทรมมาก พระสงฆ์ประกอบพิธีสังฆกรรมแต่ล่ะครั้ง ต่างกลัวไม้หลังคากระเบื้องหล่นถูกศีรษะ ไม่มีจิตเป็นสมาธิ จึงเริ่มคิดที่จะปฏิสังขรพระอุโบสถ

 

guest
ชื่อ
Email
เบอร์โทรศัพท์