พระผงบารมียอดขุนพลมงคล 9 หลวงพ่อพรหม วัดบ้านสวน ปี2538 (ขนาด 5×5.7cm.) เนื้อดินกากยายักษ์ สร้าง 4,999 องค์
บูชา 1,000 บาท
ประวัติโดยสังเขป " พระยอดขุนพล 9 " (จัดสร้างเมื่อปีพ.ศ. 2538)
พระผงบารมีทรงยอดขุนพล หลวงพ่อคงแห่งวัดบ้านสวน และพระอาจารย์ชุม ไชยศรี ได้สร้างขี้นมาครั้งหนึ่งแล้ว
ในปีพ.ศ. 2497 จากพระผงยอดขุนพลเดิมที่พระอาจารย์คง วัดแคสร้างให้ขุนแผนเมื่อคราวไปรบที่เชียงใหม่ เมื่อนั้นเอง-
พระอาจารย์คงได้เข้าประทับทรงอาจารย์ชุม ให้ไปขุดเอาพระผงยอดขุนพลเก่าจากกรุ แล้วสร้างแบบเดิมตามตำราเดิมของ
ท่านเพื่อบรรจุไว้ในพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชเป็นพุทธบูชาจำนวนหนึ่ง สร้างเพียง 2,500 องค์ พิธีนั้นสุดยอดยิ่งใหญ่
มาก ปลุกเสกตลอดไตรมาสโดยหลวงพ่อคงและพระอาจารย์ชุม จึงเกิดอภินิหารมากมายมีพลานุภาพ อิทธานุภาพ พุทธานุภาพ
เป็นเลิศ บัดนี้พระดังกล่าวหมดไป ยากแก่ผู้ที่เกิดมาภายหลังจักมีไว้บูชาเพื่อให้เกิดสิริมงคลแก่ตัวเองและผู้อื่น
พระผงบารมีที่พระอาจาย์พรหม (เจ้าอาวาสวัดบ้านสวนปัจจุบัน) จัดสร้างขี้นครั้งนี้ นับเป็นประวัติการณ์ เป็นการ
รักษาไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของพระยอดขุนพลเดิม และได้นำมวลสารที่หลวงพ่อคงสะสมไว้ รวมกับที่พระอาจารย์พรหม ศิษย์ของ
หลวงพ่อคงได้รวบรวมไว้เป็นจำนวนมาก เพื่อใช้ในการจัดสร้างพระผงบารมีทรงยอดขุนพลขี้น
มวลสารในการจัดสร้าง "พระยอดขุนพล 9"
พระยอดขุนพล เป็นพระรูปแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นยอดแห่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พระพุทธคุณของ
พระองค์มีมงคล 9 ประการ และพระอาจารย์พรหมยังได้ประมวลมาซี่งเป็นที่มงคลมากมาย พอที่จะนำเป็นนิมิตอย่างละ 9
ดังนี้
1. ดินแห่งพุทธภูมิประเทศอินเดีย-เนปาล 9 แห่ง
2. ดินยอดภูเขาซึ่งเป็นมงคล 9 ยอด
3. ดินยอดจอมปลวก 9 ยอด
4. ดินรูปูปิด 109 รู
5. ปูนผสมสูตรโบราณจากยอดพระเจดีย์จังหวัดนครศรีธรรมราช น้อยใหญ่ 9 ยอด
6. ผงอธิษฐานจิตจากลูกนิมิต 9 วัด
7. ผงดอกไม้มงคล 9 วัด
8. ผงดวงยันต์มหาหลวงพ่อคง 9 ดวง
9. ผงจากการอธิษฐานจิตคณาจารย์สายเขาอ้อ 9 รูป
10. ผงคงไชยขุม, ผงพระมหาว่าน, ผงพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ อย่างละ 9
11. ผงพระปิดตานอโมจากว่าน 108
12. ผงดินกากยายักษ์ และผงนะเมตตา 9 ดวง
13. ผงจากกรุต่างๆ ที่เป็นยอดแห่งพระผงคุณมรกต รวบรวมไว้นานถึง 30 ปี
14. ผงชื่อที่เป็นมงคลของนายพล 9 ท่านที่พระอาจารย์พรหมขอไว้เป็นนามอุปถัมภ์
และผงอื่นๆ อีกมากมาย จึงเป็นการสร้างพระผงบารมีทรงยอดขุนพลสุดยอดในครั้งนี้
ด้านหน้า เป็นแบบเดิม ด้านหลัง เป็นรูปดวงยันต์ใบโพธิ์อยู่เป็นเอกลักษณ์ มีพระคาถาเป็นยอดแห่งพระพุทธองค์ว่า
"พุทโธ นะ อะ ระหัง" มีอักษรภาษาไทระบุไว้ว่า "รุ่นสร้างพระธาตุเจดีย์วัดบ้านสวน อ.ควนขนุน จ.พัทลุง
มีคำกล่าวไว้ถึงอิทธิคุณของการได้บูชาพระยอดขุนพล 9 นี้ว่า "ผู้ใดได้บูชาแล้วซึ่งพระยอดขุนพล 9 นี้เพียง
องค์เดียวจักมีพุทธานุภาพ มีพลานุภาพ มีอิทธิภานุภาพยิ่ง สาธุชนทั่วไปมีไว้บูชาจักเป็นบุญญาบารมียิ่งๆ ขี้น
ผู้นำ แม่ทัพ นายกอง นายพล นายพัน มีไว้จักคุ้มครองป้องกันกำลังพลอันเกิดจากอันตรายทั้งปวง ท่านผู้ใดจัก
ได้ปรารถนาให้เกิดบุญบารมี พร้อมด้วยมีอำนาจวาสนา ขอให้ท่านบูชาพระยอดขุนพล 9 เพราะกำจัดภัยได้จริง
พร้อมเจริญด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ พรั่งพร้อมด้วยธนสารสมบัติ ทั้งตนเองและครอบครัว หมู่คณะให้มีแต่
ความเจริญ ก้าวหน้าด้วย"
พระผงบารมีทรงยอดขุนพล 9 นี้จึงได้ถูกสร้างขี้นจากความตั้งใจจริงอันบริสุทธิ์ที่ต้องการจะดำรงไว้ซึ่งความ
เข้มขลังแห่งพุทธานุภาพของหลวงพ่อคง และพระอาจารย์ชุม, ความวิริยะอุตสาหะในการประมวล และรวบรวมมวลสาร
สำคัญให้ครบอย่างละ 9 ประการเป็นเวลารวมหลายปี ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งมงคลทั้งสิ้น พร้อมทั้งยังได้สร้างเหรียญที่พระ
คณาจารย์บริกรรมอธิษฐานจิตให้เกิดขี้นเป็นพลังแห่งยอดขุนพล 9 ด้วย จึงนับได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ในการสร้างพระธาตุเจดีย์
์แห่งวัดบ้านสวนไปชั่วนิรันดร์
พระอาจารย์พรหมได้จัดสร้างพระยอดขุนพล 9 ขี้นในครั้งนี้มีทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ ทั้งเหรียญกลมมีห่วง
และไม่มีห่วง นับเป็นประวัติการณ์แห่งวงการมงคลวัตถุที่มีพระเปรียญธรรม 9 ประโยค และท่านนายพลถึง 9 ท่านทีได้ให้
ความอุปถัมภ์ อาทิ พลเอกนฤต เดชประดิยุทธ์ ที่ปรีกษาพิเศษกองบัญชาการสูงสุด, พลโทปานเทพ ภูวนารถนุรักษ์ แม่ทัพ-
ภาคที่ 4 รวมทั้งนายพลทั้งหมดในเขตกองทัพภาคที่ 4 เป็นผู้อุปถัมภ์ฝ่ายทหาร ฝ่ายตำรวจมีพล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช
ซึ่งเป็นยอดแห่งขุนพลศิษย์สายเขาอ้อ บริกรรมแผ่เมตตาปลุกเสกด้วย รวมทั้งพระเกจิอาจารย์อื่นๆ อีกมากมาย ยิ่งไปกว่านั้น
พระอาจารย์พรหม ศิษย์หลวงพ่อคง ยังได้บริกรรมแผ่เมตตาปลุกเสกเป็นประจำทั้งเช้าและเย็นหลังจากไหว้พระสวดมนต์
และทำวัตรเช้าเย็นตลอดทั้งไตรมาส จึงนับเป็นที่สุดทั้งพิธีปลุกเสก และสุดยอดมวลสารของวัตถุมงคลแห่งวัดบ้านสวน
และในศุภวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชสมบัติครบปีที่ 50 พระอาจารย์พรหมจะได้นำ
พระผงบารมีทรงยอดขุนพล 9 นี้ถวายแด่พระองค์ท่านจำนวน 99 องค์ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติอีกด้วย
ขอบคุณ เครดิตข้อมูลจาก ขมรมพระเครื่ิงศิริสโตร์
|
|
|